บทความวิชาการลลำดับที่ ๒๐
โดย พระครูวรวิริยคุณ (ปราโมทย์ กลิ่นละมัย)
เรื่อง "ภิกษุณีสงฆ์
:
ปัญหาและทางออกของสังคมไทย"
ภิกษุณีเป็นคำใช้เรียกนักพรตหญิงในพระพุทธศาสนา คู่กับภิกษุที่หมายถึงนักพรตชายในพระพุทธศาสนา
คำว่า “ภิกษุณี” เป็นศัพท์ที่มีเฉพาะในพระพุทธศาสนา
โดยเป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชหญิงในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ
ไม่ใช้เรียกนักบวชในศาสนาอื่น ภิกษุณีหรือภิกษุณีสงฆ์ จัดตั้งขึ้นตามพระบรมพุทธานุญาต
ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนาคือพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี โดยวิธีรับคุรุธรรม ๘ ประการ ในคัมภีร์เถรวาทระบุว่าต่อมาในภายหลังพระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตวิธีการอุปสมบทภิกษุณีให้มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น
จนศีลของพระภิกษุณีมีมากกว่าพระภิกษุ โดยพระภิกษุณีมีศีล ๓๑๑ ข้อ
ในขณะที่พระภิกษุมีศีลเพียง ๒๒๗ ข้อเท่านั้น เนื่องจากในสมัยพุทธกาลไม่เคยมีศาสนาใดอนุญาตให้ผู้หญิงเข้ามาเป็นนักบวชมาก่อนและการตั้งภิกษุณีสงฆ์ควบคู่กับภิกษุสงฆ์อาจเกิดข้อครหาที่จะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อการประพฤติพรหมจรรย์และพระพุทธศาสนาได้
หากได้บุคคลที่ไม่มีความมั่นคงในพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นนักบวช
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่ปรากฏว่ามีการตั้งวงศ์ภิกษุณีเถรวาทขึ้นในประเทศไทย อย่างไรก็ตามในประเทศที่มีพระพุทธเถรวาทที่เคยมีหรือไม่เคยมีวงศ์ภิกษุณีสงฆ์
ในปัจจุบันต่างก็นับถือกันโดยพฤตินัยว่าการที่อุบาสิกาที่มีศรัทธาโกนศีรษะนุ่งขาวห่มขาว
ถือปฏิบัติศีล ๘
(อุโบสถศีล) ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า “แม่ชี” เป็นการผ่อนผันผู้หญิงที่ศรัทธาจะออกบวชเป็นภิกษุณีเถรวาท
แต่ไม่สามารถอุปสมบทเป็นภิกษุณีเถรวาทได้ โดยส่วนใหญ่แม่ชีเหล่านี้จะอยู่ในสำนักวัดซึ่งแยกเป็นเอกเทศจากกุฎิสงฆ์
ภิกษุณีสายเถรวาทซึ่งสืบวงศ์มาแต่สมัยพุทธกาลด้วยการบวชถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท
ที่ต้องบวชในสงฆ์สองฝ่ายคือทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ได้ขาดสูญวงศ์
(ไม่มีผู้สืบต่อ) มานานแล้ว คงเหลือแต่ภิกษุณีฝ่ายมหายาน (อาจริยวาท) ที่ยังสืบทอดการบวชภิกษุณีแบบมหายาน (บวชในสงฆ์ฝ่ายเดียว) มาจนปัจจุบัน
ซึ่งจะพบได้ในประเทศจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และศรีลังกา
ปัจจุบันมีการพยายามรื้อฟื้นการบวชภิกษุณีในฝ่ายเถรวาท
โดยทำการบวชมาจากภิกษุณีมหายาน
และกล่าวว่าภิกษุณีฝ่ายมหายานนั้นสืบวงศ์ภิกษุณีสงฆ์มาแต่ฝ่ายเถรวาทเช่นกัน แต่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าฝ่ายมหายานมีการบวชภิกษุณีสืบวงศ์มาโดยมิได้กระทำถูกตามพระวินัยปิฎกเถรวาท
และมีศีลที่แตกต่างกันอย่างมากด้วย ทำให้มีการไม่ยอมรับภิกษุณี (เถรวาท) ใหม่
ที่บวชมาแต่มหายานว่า มิได้เป็นภิกษุณีที่ถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท
และมีการยกประเด็นนี้ขึ้นเป็นข้ออ้างว่าพระพุทธศาสนาจำกัดสิทธิสตรีด้วยซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
เพราะพระพุทธเจ้าได้อนุญาตให้มีภิกษุณีที่นับเป็นการเปิดโอกาสให้มีนักบวชหญิงเป็นศาสนาแรกในโลก
เพียงแต่การสืบทอดวงศ์ภิกษุณีได้สูญไปนานแล้ว จึงทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถบวชสตรีเป็นภิกษุณีตามพระวินัยเถรวาทได้
พระโคตมพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้มีภิกษุณี
เนื่องจากเห็นว่าจะทำให้อายุของพระพุทธศาสนาไม่ยั่งยืน ต่อมาพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ผู้เป็นพระน้านางและพระมาตุจฉาหรือพระมารดาเลี้ยงของเจ้าชายสิทธัตถะ
มีศรัทธาอยากออกบวชจึงทูลอ้อนวอนขอบวชต่อพระพุทธเจ้าถึงสามครั้งแต่ก็ไม่เป็นผล
จนกระทั่งพระอานนท์ได้ทูลขอ พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาต โดยมีเงื่อนไขว่า
พระนางปชาบดีโคตมีจะต้องรับเอาครุธรรมแปดประการ
(ข้อปฏิบัติที่หนักและทำได้ยาก) ไปปฏิบัติ
ดังนั้น ภิกษุณีที่ทรงอุปสมบทให้องค์แรกได้แก่
พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ซึ่งบวชเป็นภิกษุณีรูปแรกด้วยการรับครุธรรมแปดประการ
(รูปเดียวที่บวชด้วยวิธีนี้) ต่อมาพระพุทธองค์ได้ทรงวางหลักเกณฑ์ในการรับผู้ประสงค์จะบวชเป็นภิกษุณี
และวางวินัยของภิกษุณีไว้มากมาย เพื่อกลั่นกรองผู้ที่ประสงค์จะบวชและมีศรัทธาจริงๆ เช่น ภิกษุณีเมื่อบวชแล้วต้องถือศีลถึง ๓๑๑ ข้อ มากกว่าพระภิกษุ ซึ่งถือศีลเพียง ๒๒๗ ข้อ วินัยของภิกษุณีที่มีมากกว่าพระภิกษุ
เพราะผู้หญิงมีข้อปลีกย่อยในการดำรงชีวิตมากกว่าผู้ชาย ซึ่งผู้ชายไม่จำเป็นต้องมี
เป็นต้น ก่อนที่ผู้หญิงจะบวชเป็นภิกษุณีได้นั้น
ต้องบวชเป็น "สิกขมานา" เสียก่อน สิกขมานาเป็นสามเณรีที่ต้องถือศีล ๖ ข้ออย่างเคร่งครัดเป็นเวลา ๒ ปี
หากศีลขาดแม้แต่ข้อเดียวจะต้องเริ่มนับเวลาใหม่
การบวชเป็นสิกขมานา
จะบวชได้ต้องอายุครบ ๑๘ ปี เพราะว่าคนที่จะบวชเป็นภิกษุณีได้นั้นต้องอายุครบ ๒๐ ปี
แต่สำหรับหญิงที่แต่งงานแล้ว พระพุทธองค์อนุญาตให้บวชเป็นสิกขมานาได้ตั้งแต่อายุ ๑๒
ปี เพราะว่าคนที่แต่งงานจะได้เรียนรู้ความยากลำบากของชีวิต รู้จักสุข ทุกข์ เมื่อรู้จักทุกข์ก็จะรู้จักสมุทัย นิโรธ มรรค ได้ จนนำไปสู่การบรรลุในที่สุด เมื่อผู้ที่ประสงค์จะบวชเป็นภิกษุณี
ได้เป็นสิกขมานา ถือศีล ๖ ข้อครบ ๒ ปีแล้วจึงมีสิทธิ์ที่จะเข้าพิธีอุปสมบท โดยต้องอุปสมบทในฝ่ายของภิกษุณีสงฆ์ก่อน
แล้วไปเข้าพิธีอุปสมบทในฝ่าย ภิกษุสงฆ์ อีกครั้งหนึ่งจึงจะเป็นภิกษุณีได้โดยสมบูรณ์ (บวชในสงฆ์สองฝ่าย) ก่อนที่ภิกษุณีสงฆ์จะหมดไปจากประเทศอินเดียนั้น พระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งพระธรรมทูตออกไป
๙ สาย สายที่ ๙ ส่งพระมหินทรเถระพระราชโอรสของพระองค์ไปศรีลังกา การเผยแพร่ศาสนาพุทธประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง พระนางอนุลา น้องสะใภ้ของกษัตริย์ศรีลังกา
ทรงอยากผนวชจึงนิมนต์พระนางสังฆมิตตาเถรี พระธิดาของพระเจ้าอโศก
มาเป็นปวัตตินีให้ ("ปวัตตินี" คือ พระอุปัชฌาย์ที่เป็นผู้หญิง)
จากประเทศศรีลังกาภิกษุณีสงฆ์ได้ไปสืบสายไว้ในจีน ไต้หวัน และประเทศอื่นๆ จนกระทั่งพุทธศาสนาที่อินเดียและศรีลังกาเสื่อมลงลงไปในช่วงหลัง
ทำให้ภิกษุณีฝ่ายเถรวาทซึ่งมีศีลและข้อปฏิบัติที่ยุ่งยากไม่สามารถรักษาวงศ์ของภิกษุณีเถรวาทไว้ได้
จึงทำให้ไม่มีผู้สืบทอดการบวชเป็นภิกษุณีสายเถรวาท ในปัจจุบันมีความเชื่อว่ายังมีภิกษุณีสายเถรวาทเหลืออยู่และอ้างหลักฐานยืนยันว่าภิกษุณีทางสายมหายาน วัชรยานนั้นสืบสายไปจากภิกษุณีสายเถรวาท
โดยถือกันว่าหากภิกษุณีสายเถรวาทสืบสายไปเป็นมหายานได้
(ภิกษุณีจากลังกาไปบวชให้คนจีน) ภิกษุณีมหายานก็สืบสายมาเป็นเถรวาทได้เช่นกัน ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้บวชเป็นภิกษุณี
(เถรวาท) หลายรูป โดยบวชมาจากคณะภิกษุณีสงฆ์ในประเทศศรีลังกา เช่น ภิกษุณีธัมมนันทา มีสำนักภิกษุณีเป็นเอกเทศคือทรงธรรมกัลยาณีภิกษุณีอาราม ในกรณีนี้เคยมีประเด็นถกเถียงอยู่ช่วงหนึ่งว่าปัจจุบันนี้สามารถบวชภิกษุณีได้หรือไม่
มีข้อสรุปจากทางพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทว่าพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้มีการบวชเป็นภิกษุณีได้ก็ต่อเมื่อบวชต่อสงฆ์ทั้ง
๒ ฝ่าย คือ ต้องบวชทั้งฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์เป็นการลงญัตติจตุตถกรรมวาจาทั้งสองฝ่าย จึงจะสามารถเป็นภิกษุณีได้
ดังนั้น ในเมื่อภิกษุณีสงฆ์เถรวาทได้เสื่อมสิ้นลงไม่มีผู้สืบต่อ
จึงทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถทำการบวชผู้หญิงเป็นภิกษุณีฝ่ายเถรวาทได้ การที่มีข้ออ้างว่าสายมหายานสืบสายวงศ์ภิกษุณีสงฆ์ไปก็ไม่สามารถอ้างได้ เพราะการสืบสายทางมหายานมีข้อวินัยและการทำสังฆกรรมบวชภิกษุณีที่ไม่ถูกต้องกับพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท
ปัจจุบันศรีลังกาพยายามฟื้นฟูภิกษุณีสงฆ์ จนมีภิกษุณีหลายร้อยรูปที่ประเทศไทยก็มีผู้หญิงบวชเป็นภิกษุณีจำนวนหลายรูปแล้วเช่นกัน
แต่คณะสงฆ์ไทยไม่ยอมรับเป็นภิกษุณีสงฆ์เพราะสาเหตุดังกล่าวมาแล้วข้างต้น[๑]
ประวัติความเป็นมาของภิกษุณี
๑. พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทูลขอบรรพชาไม่สำเร็จ สมัยเมื่อพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในนิโครธารามใกล้กรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้า ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
แล้วประทับยืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลขอบรรพชาเป็นอนาคาริยะ (ไม่ครองเรือน)
ในพระธรรมวินัย ซึ่งพระตถาคตเจ้าประกาศแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสห้ามไว้ว่า อย่าเลยท่านเป็นมาตุคาม อย่าพอใจบรรพชาเป็นอนาคาริยะในพระธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย
แม้ครั้งที่สอง ครั้งที่สาม พระนางมหาปชาบดีโคตมี กราบทูลขอบรรพชา
พระผู้มีพระภาคก็ตรัสห้ามอย่างนั้น
เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมี
เห็นว่าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตอนาคาริยบรรพชาในพระธรรมวินัย
ซึ่งพระตถาคตเจ้าประกาศแล้วแก่มาตุคาม ก็ระทมทุกข์เสียพระทัย
มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ
(คือดำเนินเวียนขวา) แล้วเสด็จหลีกไป ต่อมาเมื่อพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์ตามพระพุทธอัธยาศัยแล้วก็เสด็จจาริกไปโดยลำดับ
ทางกรุงเวสาลี ทรงแวะ ณ กรุงเวสาลีนั้น ประทับ ณ กูฏาคารศาลา (ศาลาเรือนยอด)
ป่ามหาวัน
๒. ความพยายามอีกครั้งหนึ่งของพระนาง ลำดับนั้นพระนางมหาปชาบดีโคตมี
ทรงปลงพระเกศา นุ่งห่มกาสาวพัสตร์ เสด็จพร้อมด้วยเจ้าหญิงศากยะเป็นอันมาก
เดินทางไปยังกรุงเวสาลีโดยลำดับ เสด็จเข้าไปยังกูฏคารศาลาป่ามหาวัน ครั้งนั้นพระนางมหาปชาบดีโคตมี มีพระบาทเปล่า (ไม่สวมรองเท้า) มีพระกายอันมัวมอมด้วยฝุ่นละออง ระทมทุกข์ เสียพระทัย
มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสง ประทับยืน ณ ภายนอกซุ้มประตู
๓.
พระอานนทเถระได้เห็นพระนางมหาปชาบดีโคตมีในลักษณาการดั่งกล่าว
ถามทราบความว่าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตอนาคาริยบรรพชาในพระธรรมวินัย
อันพระตถาคตเจ้าประกาศแล้วแก่มาตุคาม จึงทูลว่าถ้าอย่างนั้นจงทรงคอยอยู่ที่นี่ก่อน
จนกว่าจะทูลขอพระผู้มีพระภาคให้ประทานอนาคาริยบรรพชาแก่มาตุคาม
ลำดับนั้น
พระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้ว
จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า "พระเจ้าข้า พระนางมหาปชาบดีโคตมี
ทรงมีพระบาทเปล่า มีพระกายอันมัวมอมด้วยฝุ่นละออง ทรงระทมทุกข์ เสียพระทัย
มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสง ประทับยืน ณ ภายนอกซุ้มประตูนั้น ด้วยทรงคิดว่าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตอนาคาริยบรรพชาแก่มาตุคาม
โปรดเถิด พระเจ้าข้า
ขอให้มาตุคามได้อนาคาริยบรรพชาในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วเถิด"
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ดูก่อนพระอานนท์ อย่าเลย
ท่านอย่าพอใจอนาคาริยบรรพชาของมาตุคามในพระธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้วเลย ."
แม้ครั้งที่สอง ครั้งที่สาม พระอานนท์ทูลขอ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสห้ามอย่างนั้น
ลำดับนั้น
พระอานนท์จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า "พระเจ้าข้า มาตุคามบวชเป็นอนาคาริยะในพระธรรมวินัยอันพระตถาคตเจ้าประกาศแล้ว
จะควรหรือไม่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล
หรืออรหัตตผล" พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ควร พระอานนท์กราบทูลต่อไปว่าถ้าควร
พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระน้านางของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นผู้ปกป้องเลี้ยงดูถวายพระขีระ
เมื่อพระพุทธมารดาสวรรคตแล้วก็ได้ให้พระผู้มีพระภาคทรงดื่มพระขีระ โปรดเถิด
พระเจ้าข้า
ขอให้มาตุคามได้อนาคาริยบรรพชาในพระธรรมวินัยอันพระตถาคตเจ้าประกาศแล้วเถิด"
๔. พระพุทธเจ้าประทานอนุญาตภิกษุณีบรรพชาโดยมีเงื่อนไข พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ดูก่อนอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดี โคตมี
จะทรงรับครุธรรม ๘ ประการได้ นั้นก็จงเป็นอุปสัมปทา (การบวช) ของพระนางเถิด คือ
๑) นางภิกษุณีแม้บวชแล้ว ๑๐๐ ปี ต้องทำอภิวาท การลุกขึ้นต้อนรับ
อัญชลีธรรม และสามีจิกรรมแก่ภิกษุผู้บวชในวันนั้น
นี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต
๒) นางภิกษุณีไม่พึงจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ
นี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะ เคารพนับถือ บูชา ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต
๓)
นางภิกษุณีพึงหวังธรรม ๒ อย่างจากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน คือ การถามวันอุโบสถกับ
การเข้าไปหา เพื่อรับโอวาทนี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต
๔)
นางภิกษุณีจำพรรษาแล้ว พึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย (ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) ด้วยฐานะ
๓ คือ ด้วยได้เห็นหรือด้วยได้ฟังหรือด้วยนึกรังเกียจ
นี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต
๕)
นางภิกษุณีทีต้องครุธรรม (ต้องอาบัติสังฆาทิเสส) พึงประพฤติมานัตต์ตลอดปักษ์ในสงฆ์
๒ ฝ่าย นี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต
๖) นางสิกขมานา (สตรีผู้ก่อนเป็นนางภิกษุณี ต้องเป็นนางสิขมานา แปลว่า ผู้ศึกษา) ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีแล้ว จึงควรแสวงหาอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย(คือก่อนจะบวชเป็นนางภิกษุณี จะต้องเป็นนางสิกขมานา ๒ ปี ระหว่าง ๒ ปี รักษาศีล ๖ ข้อ ขาดไม่ได้ ศีล ๖ ข้อ คือ ศีล ๕ กับเพิ่มข้อที่ ๖ อันได้แก่การเว้นบริโภคอาหารในเวลาวิกาล) นี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะ เคารพนับถือ บูชา ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต
๖) นางสิกขมานา (สตรีผู้ก่อนเป็นนางภิกษุณี ต้องเป็นนางสิขมานา แปลว่า ผู้ศึกษา) ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีแล้ว จึงควรแสวงหาอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย(คือก่อนจะบวชเป็นนางภิกษุณี จะต้องเป็นนางสิกขมานา ๒ ปี ระหว่าง ๒ ปี รักษาศีล ๖ ข้อ ขาดไม่ได้ ศีล ๖ ข้อ คือ ศีล ๕ กับเพิ่มข้อที่ ๖ อันได้แก่การเว้นบริโภคอาหารในเวลาวิกาล) นี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะ เคารพนับถือ บูชา ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต
๗)
นางภิกษุณี ไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุด้วยปริยายใดๆ
นี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะเคารพ บูชา ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต
๘)
จำเดิมแต่วันนี้ไป ห้ามนางภิกษุณีว่ากล่าวสั่งสอนภิกษุ
ไม่ห้ามภิกษุกล่าวสั่งสอนนางภิกษุณีนี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะ นับถือ
เคารพ บูชา ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต
ดูก่อนอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี รับครุธรรม ๘ ประการเหล่านี้ได้ นั้นก็จงเป็นอุปสัมปทา (การบวช) ของพระนางเถิด"
ดูก่อนอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี รับครุธรรม ๘ ประการเหล่านี้ได้ นั้นก็จงเป็นอุปสัมปทา (การบวช) ของพระนางเถิด"
๕. พระอานนท์นำครุธรรมไปบอกพระนางมหาปชาบดีโคตมี
ลำดับนั้น พระอานนท์ผู้มีอายุ เรียนครุธรรม ๘
ประการในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็เข้าไปเฝ้าพระนางมหาปชาบดี โคตมี แล้วกล่าวว่า
"พระนางโคตมี ถ้าพระนางจะพึงรับครุธรรม ๘ ประการได้
นั้นก็จักเป็นอุปสัมปทา(การบวช) ของพระนาง คือ (มีข้อความเหมือนข้างต้น)."
๖. พระนางมหาปชาบดี โคตรมีทรงรับและทูลตอบว่า "ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ หญิง หรือชายรุ่นหนุ่มสาว รักการประดับ สนานศีรษะแล้ว ได้พวงมาลัยดอกอุบลก็ดี พวงมาลัยดอกมะลิก็ดี พวงมาลัยดอกลำดวนก็ดี พึงประดิษฐานไว้บนกระหม่อม บนศีรษะฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น จะรับครุธรรม ๘ ประการเหล่านี้ไว้ ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต" [๒]
๖. พระนางมหาปชาบดี โคตรมีทรงรับและทูลตอบว่า "ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ หญิง หรือชายรุ่นหนุ่มสาว รักการประดับ สนานศีรษะแล้ว ได้พวงมาลัยดอกอุบลก็ดี พวงมาลัยดอกมะลิก็ดี พวงมาลัยดอกลำดวนก็ดี พึงประดิษฐานไว้บนกระหม่อม บนศีรษะฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น จะรับครุธรรม ๘ ประการเหล่านี้ไว้ ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต" [๒]
บทบาทของภิกษุณีในประเทศไทย
บทบาทของภิกษุณี นิกายมหายานที่มีส่วนช่วยในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
(ภิกษุณีอัมพิกา คูวินิชกุล เจ้าอาวาสหญิงรูปแรกของไทย วัดโฝวกวงซัน ) ปัจจุบันท่านเป็นผู้หญิงที่มีเก่ง มีความรู้
ความสามารถและดำรงตำแหน่งได้ทัดเทียมกับผู้ชาย ท่านได้มีส่วนช่วยในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เป็นที่รู้จักโดยกว้าง
โดยผลของการวิจัยก็พบว่า พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีทัศนะคติในเชิงบวก
เกี่ยวกับบทบาทของภิกษุณีอัมพิกา คูวินิชกุล เจ้าอาวาสหญิงรูปแรกของไทย
วัดโฝวกวงซัน (ประเทศไทย) ที่มีส่วนช่วยในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทย โดยมีความเห็นว่า
ภิกษุณีอัมพิกา เจ้าอาวาสวัดโฝวกวงซัน เป็นภิกษุณีที่เป็นแบบอย่างของพระพุทธศาสนา
มีอุดมการณ์ที่แน่วแน่เพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม มิใช่เพื่อชื่อเสียง ยศ ตำแหน่ง
หรือลาภสักการะใด ท่านเจ้าอาวาสวัดโฝวกวงซัน มีความรู้
ความเข้าใจในหลักพระธรรมวินัยอย่างดียิ่ง ตลอดจนยังมีบทบาทอย่างมาก
ในการช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนามหายานในประเทศไทย
ให้เป็นที่รู้จักของคนในสังคมและท่านภิกษุณียังมีเทคนิคในการเผยแผ่ศาสนาให้เป็นที่สนใจ
โดยสามารถชักนำให้ผู้คนเข้ามาปฏิบัติธรรม และสนใจในพระพุทธศาสนามากขึ้น
ประชาชนส่วนใหญ่มีความเห็นว่า วัดโฝวกวงซันมีหลายสาขาทั่วโลก
ทำให้ง่ายต่อการเลือกปฏิบัติอีกทั้งเปิดโอกาสให้คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกศาสนา
สามารถเข้ามาปฏิบัติและศึกษาธรรมะได้ โดยไม่มีการแบ่งแยกศาสนา
ในด้านของมูลนิธิแสงพุทธธรรม วัดโฝวกวงซันนั้น ถือว่ามีบทบาทอย่างมากในการช่วยเหลือสังคม เช่น เปิดโอกาสสอนภาษาจีน
สอนการทำอาหารเจ สอนการจัดดอกไม้ เพื่อเป็นการเสริมความรู้
และทักษะทางด้านอาชีพให้กับเยาวชน
ตลอดจนยังได้มีการจัดตั้งทุนของทางมูลนิธิแสงพุทธธรรม
เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้ด้อยทางการศึกษาของสังคมอีกด้วย
ถึงแม้ว่า
“ภิกษุณี” จะเป็นสถานภาพนักบวชสตรีที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในสังคมไทย
โดยบวชจากคณะสงฆ์ต่างประเทศ เช่น
ภิกษุณีที่วัดโฝวกวงซันนั้นก็ได้รับการบวชมาจากพระอุปัชฌาย์ที่ประเทศไต้หวัน แต่ในท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ของคนในสังคมเกี่ยวกับการมีภิกษุณีในประเทศไทยนั้น
ซึ่งมีทั้งฝ่ายที่สนับสนุน คัดค้าน
และข้อห้ามของคณะสงฆ์
แต่ภิกษุณีก็สามารถดำเนินกิจกรรมและปฏิบัติศาสนกิจต่อไปได้ตามเสรีภาพที่ได้รับจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี
พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตราที่ ๓๘
ว่าด้วยเสรีภาพในการนับถือศาสนา เนื่องจากภิกษุณีเป็นสถานภาพของนักบวชในพระพุทธศาสนา
ซึ่งความเป็นอยู่และการได้มาซึ่งปัจจัย ๔
ต้องขึ้นกับการสนับสนุนของคนในสังคม ภิกษุณีเมื่อเกิดขึ้นแล้วในสังคมจะมีบทบาทเผยแผ่พระพุทธศาสนาและบทบาทในเชิงสังคมมากน้อยเพียงใด
เพื่อที่ครองศรัทธาของประชาชนให้ยั่งยืนต่อไปได้จากการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเพียงแค่บทบาทของภิกษุณีอัมพิกา
คูวินิชกุล เจ้าอาวาสวัดโฝวกวงซัน ตลอดจนภิกษุณีที่จำวัด ณ
วัดโฝวกวงซันเท่านั้นและหลังจากที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาวิจัย
ทำให้ทราบถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมขณะนี้
การที่พระพุทธองค์อนุญาตให้มีภิกษุณีในพระพุทธศาสนานั้นมองได้ว่า
เป็นการยอมรับทางภูมิปัญญาและความสามารถของสตรีในการสำเร็จมรรคผล
ศีลหรือระเบียบวินัยของภิกษุณีมีจำนวนมากและเคร่งครัดกว่าภิกษุนั้น ส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นเป็นพิเศษนั้นก็เป็นไปตามข้อเท็จจริงของธรรมชาติทางกาย
จิตใจ และเพื่อสวัสดิภาพ ความปลอดภัยของภิกษุณีเป็นส่วนใหญ่[๓]
ปัญหาเรื่องการบวชภิกษุณีในพระพุทธศาสนาเถรวาท
ปัญหาหนึ่งเกี่ยวกับสตรีในพุทธศาสนาคือปัญหาเรื่องการอุปสมบทเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนาเถรวาท
เนื่องจากมีสตรีชาวพุทธจำนวนไม่น้อยต้องการอุปสมบทเป็นภิกษุณีในพุทธศาสนาเถรวาทและพระสงฆ์ลังกาบางวัดหรือบางสำนักก็อนุญาตให้มีการอุปสมบทภิกษุณีในวัดของตนได้
ทำให้สตรีชาวพุทธบางท่านได้เข้าอุปสมบทเป็นภิกษุณีในสำนักของพระสงฆ์ลังกาดังกล่าว
ประเด็นสำคัญของปัญหานี้คือ
มีการเรียกร้องให้คณะสงฆ์ไทยยินยอมให้มีการอุปสมบทภิกษุณีในประเทศไทยด้วย
ซึ่งนักคิดชาวไทยบางคนก็เห็นด้วยโดยอ้างเหตุผลต่างๆ มาสนับสนุนเกี่ยวกับปัญหานี้มีเหตุผลบางประการมาอภิปรายเพื่อชี้ให้เห็นว่า
การอุปสมบทเป็นภิกษุณีเป็นเรื่องที่ดี หากพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนมชีพอยู่ก็คงจะทรงอนุญาตให้บวชได้เพราะสภาพสังคมในปัจจุบันต่างจากสภาพสังคมอินเดียในสมัยพุทธกาลมาก
แต่ที่คณะสงฆ์ไทยหรือพุทธศาสนาเถรวาทส่วนใหญ่ไม่อนุญาตให้สตรีอุปสมบทเป็นภิกษุณีนั้นเป็นเพราะเงื่อนไขของพุทธศาสนาเถรวาทที่วางไว้มาแต่เดิม
ไม่ใช่เป็นเพราะความเห็นแก่ตัวหรือเป็นเพราะอคติของคณะสงฆ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจทั้งสองฝ่าย
เพราะฝ่ายสตรีก็มีเจตนาดีในการบวช
ฝ่ายภิกษุสงฆ์ก็จะต้องทำตามพระธรรมวินัยและกฎกติกาของนิกาย
๑. เนื่องจากพุทธศาสนาเถรวาทได้มีมติในคราวสังคายนาครั้งที่
๑ ว่าจะไม่มีการเพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อย
กล่าวอีกอย่างคือจะรักษาพระธรรมวินัยที่ทรงจำกันมาไว้ตามเดิมทุกอย่างภายใต้มตินี้
พุทธศาสนาเถรวาทจึงไม่สามารถให้อุปสมบทแก่สตรีได้
เพราะภิกษุณีสงฆ์ที่เป็นเถรวาทแท้ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการอุปสมบทภิกษุณีนั้นไม่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน
การจะนำเอาภิกษุณีฝ่ายมหายานที่ในอดีตได้รับการอุปสมบทจากภิกษุณีเถรวาทมาแทนที่ย่อมเป็นไปไม่ได้ตามหลักพระวินัยของเถรวาทเพราะภิกษุณีมหายานมีสังวาส
(ข้อปฏิบัติเพื่ออยู่ร่วมกันในหมู่) ต่างจากภิกษุและภิกษุณีเถรวาท เนื่องจากเป็นภิกษุณีที่บวชโดยภิกษุสงฆ์ของมหายานและมีข้อปฏิบัติที่ต่างจากเถรวาท
การทำสังฆกรรมกับสงฆ์ที่มีสังวาสต่างกัน (นานาสังวาส)
ตามพระวินัยของเถรวาทถือว่าเป็นสังฆกรรมที่ใช้ไม่ได้
การอุปสมบทด้วยวิธีนี้จึงไม่ถูกต้องตามพระวินัยของเถรวาท ผู้อุปสมบทจึงไม่ใช่ภิกษุณีตามข้อกำหนดของพุทธศาสนาเถรวาท
๒. ถ้าแก้ปัญหาด้วยการแก้พระวินัยดังกล่าวนั้น
สิ่งที่ตามมาก็คือผู้อุปสมบทอาจเป็นภิกษุณีในนิกายเถรวาทใหม่ แต่ไม่ใช่นิกายเถรวาทเดิมที่นับถือกันอยู่ในขณะนี้
เพราะโดยคำนิยามหรือลักษณะเฉพาะของพระพุทธศาสนาเถรวาทจะไม่มีการแก้พระวินัยเช่นนั้น
นิกายที่แก้พระวินัยจึงไม่ใช่เถรวาทตามความหมายเดิม ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าผู้ต้องการอุปสมบทต้องการเป็นภิกษุณีในนิกายเดิมหรือนิกายใหม่
หากต้องการเป็นภิกษุณีในนิกายใหม่ก็ไม่มีปัญหาอันใด
ดังเช่นกรณีของภิกษุณีที่อุปสมบทในสำนักของพระสงฆ์ลังกา แต่ถ้าต้องการเป็นภิกษุณีในนิกายเดิมจะมีปัญหา
เพราะไม่สามารถเป็นได้ การแก้พระวินัยเพื่อให้อุปสมบทภิกษุณีได้จึงเป็นเรื่องที่มีความขัดแย้งในตัวเอง เพราะผู้ต้องการบวชมีความประสงค์อยากเป็นภิกษุณีของพุทธศาสนาเถรวาทที่ถือกันว่าสืบทอดพระธรรมวินัยมาอย่างเคร่งครัดที่สุดเป็นนิกายที่เก่าแก่ที่สุดหรือถือกันว่าเป็นจริงที่สุด แต่การแก้พระธรรมวินัยกลับทำให้พุทธศาสนาเถรวาทที่ตนเองต้องการเข้าร่วมด้วยนั้นกลายเป็นไม่ใช่พุทธศาสนาเถรวาทที่ตัวเองต้องการเข้าร่วมด้วย
เพราะการแก้พระวินัยทำให้สูญเสียเอกลักษณ์ของพุทธศาสนาเถรวาทที่ว่าเก่าแก่ที่ของจริงที่สุดนั้น
๓. การแก้พระวินัยดังกล่าวภิกษุผู้แก้พระวินัยถือได้ว่าเป็นผู้ทำให้พระวินัยของพุทธศาสนา
วิปริตคลาดเคลื่อนซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบาปที่ร้ายแรง เมื่อเป็นเช่นนี้ใครเล่าจะกล้าเป็น “คนบาป”
คนนั้น เรื่องนี้จึงเป็นสิ่งที่น่าเห็นอกเห็นใจต่อคณะสงฆ์ที่ไม่สามารถให้อุปสมบทได้
ไม่ใช่ไม่อนุญาต แต่ อนุญาตไม่ได้ เพราะตามหลักการของพุทธศาสนาเถรวาท
คณะสงฆ์ไม่มีสิทธิในการปรับแก้พระวินัย แต่ต้องทำตามพระวินัยเท่านั้น
เหมือนตำรวจต้องทำหน้าที่ตามกฎหมายโดยไม่มีสิทธิจะแก้กฎหมาย ดังนั้น
แม้นักคิดบางคนจะอ้างว่าพระวินัยที่เกี่ยวกับการอุปสมบทภิกษุณีโดยเฉพาะเรื่องครุธรรม
๘ ไม่ใช่พระพุทธพจน์คือเรื่องที่เติมมาในภายหลังก็ดี
พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อย
ก็ดี การไม่อนุญาตให้อุปสมบทเป็นภิกษุณีเกิดมาจากอคติทางเพศหรืออคติหญิง
ของพระสงฆ์ที่ดู หมิ่นสตรีหรือกลัวสตรีจะเด่นกว่าเป็นต้น
แต่เหตุผลดังกล่าวไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ เพราะเหตุผล ประการแรกไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนพอที่จะทำให้คณะสงฆ์ทั้งหมดยอมรับ
อีกทั้งวินัยดังกล่าวก็คือแนว ปฏิบัติของพุทธศาสนาเถรวาทที่สืบทอดกันมานาน (แม้แต่มหายานในจีนก็พยายามทำการอุปสมบท
ภิกษุณีตามวินัยของเถรวาทนี้โดยการอาราธนาภิกษุณีลังกาไปให้การอุปสมบท) และการถอน สิกขาบทเล็กน้อยก็ขัดกับหลักการหรือเอกลักษณ์ของพุทธศาสนาเถรวาท
ซึ่งความเป็นจริงจะต้องถอน สิกขาบทจำนวนไม่น้อยเพื่อให้การอุปสมบทภิกษุณีเป็นไปได้ซึ่งคงไม่ใช่ถอนสิกขาบทเล็กน้อย
ส่วนเรื่อง
“อคติหญิง”
นั้นก็ไม่เกี่ยวกับเหตุผลของเรื่องนี้โดยตรงเพราะไม่ว่าพระสงฆ์จะมีอคติหรือไม่ก็ตามแต่เมื่อว่าตามหลักการดังกล่าวจะอุปสมบทเป็นภิกษุณีในพุทธศาสนาเถรวาท
ที่แท้จริง ย่อมเป็นไม่ไม่ได้อยู่ดี
นั่นคือถึงจะอุปสมบทเป็นภิกษุณีก็ไม่ใช่ภิกษุณีในความหมายที่แท้จริงของพุทธศาสนาเถรวาท
ฉะนั้นเมื่อกล่าวโดยยึดหลักการของพุทธศาสนาเถรวาทอย่างเข้มงวดการอุปสมบทเพื่อเป็นภิกษุณีในพุทธศาสนาเถรวาทที่แท้จริงจึงเป็นไปไม่ได้ตามเงื่อนไขเหล่านี้
ทางออกสำหรับปัญหานี้จึงมีอยู่ ๓ ทาง คือ
๑) การตั้งพุทธศาสนานิกายใหม่หรือ เถรวาทใหม่ ที่ไม่มีปัญหาเรื่องพระวินัยเกี่ยวกับการอุปสมบทภิกษุณี
ซึ่งเป็นทางออกที่ทำได้ยาก เพราะต้องหา ผู้นำ
ที่มีศักยภาพและบารมีที่คนยอมรับอีกทั้งกล้าที่จะยอมรับความเป็นเถรวาทใหม่ที่ไม่ใช่ของแท้ดั้งเดิม
๒) การสร้างผลงานของภิกษุณีที่บวชจากที่อื่น เช่น ลังกา ให้สังคมยอมรับจนในที่สุดเมื่อถึงเวลาที่คณะสงฆ์ส่วนใหญ่เปลี่ยนเจตคติและค่านิยมต่อหลักการหรือเอกลักษณ์ดังกล่าวของพุทธศาสนาเถรวาท
การอุปสมบทเป็นภิกษุณีในพุทธศาสนาเถรวาทโดยเฉพาะในประเทศไทยก็อาจเป็นจริงได้
แต่ทางเลือกนี้ต้องใช้เวลายาวนานและขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ทางสังคมและการเมืองที่จะมา
เปลี่ยนแปลงความเชื่อและค่านิยมของคณะสงฆ์ไทย เช่น
เดียวกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับคณะ สงฆ์ในจีนและญี่ปุ่นและถ้าคณะสงฆ์เปลี่ยนแปลงเช่นนั้นจริง
พุทธศาสนาเถรวาทในประเทศไทยก็ ไม่ใช่พุทธศาสนาเถรวาทแบบดั้งเดิมอีกต่อไปแต่เป็น
เถรวาทใหม่
๓) การสร้างหรือส่งเสริมนักบวชสตรีในรูปแบบอื่นๆ
เช่นการสร้างภิกษุณีแบบใหม่ใน รูปแบบของพรหมจารินีหรือทสสีลมาตาหรือส่งเสริมสถานภาพของแม่ชีที่มีอยู่แล้วให้ได้รับการยอมรับ
มากขึ้นในปัจจุบัน หากไม่ต้องการหรือไม่สามารถดำเนินการตามแนวทางทั้ง ๓ ข้อได้ สตรีผู้ต้องการ
เป็นภิกษุณีของเถรวาทก็คงต้องเข้ารับการอุปสมบทจากคณะสงฆ์ลังกาที่อนุญาตให้มีการอุปสมบท
ภิกษุณีในสำนักของตนแล้ว ซึ่งผู้ที่อุปสมบทเป็นภิกษุณีไม่ว่าจากคณะสงฆ์ฝ่ายมหายานหรือฝ่ายเถร
วาทในลังกาก็ถือว่าเป็นภิกษุณี เป็นนักบวชผู้ทรงศีลที่ควรแก่การสักการบูชาเช่นเดียวกับภิกษุในนิกาย
ทั้งสอง
ชาวพุทธไม่ควรมาวิวาทบาดหมางกันจนเสียความสามัคคีในเรื่องนี้
แม้จะยังแก้ปัญหานี้ไม่ได้ก็ควรตั้งใจปฏิบัติธรรมและเผยแผ่พุทธศาสนาเพื่อประโยชน์ทั้งตนเองและชาวโลก
สืบไป เพราะการปฏิบัติธรรมและเผยแผ่พุทธศาสนาเป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคนและชาวพุทธทุกคน
สามารถทำได้มากน้อยแล้วแต่เงื่อนไขจะกำหนด หากวิวาทจนเกิดความแตกแยกต่อไปในภายหน้า
แม้แต่ตัวพุทธศาสนาเองก็จะไม่เหลือให้ชาวโลกได้นับถืออีกต่อไป
ไม่จำต้องกล่าวถึงโอกาสได้บวชเป็นภิกษุหรือภิกษุณี[๔]
ประเทศไทยกับการบวชพระภิกษุณี
การบวชของนางภิกษุณีหรือนักบวชหญิงในประเทศไทยมาเป็นระยะๆ
และดูเหมือนว่าในช่วงนี้ได้มีผู้พูดเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งและในครั้งนี้มีความเห็นว่าสามารถบวชภิกษุณีในประเทศไทยได้
โดยนำภิกษุณีสงฆ์จากประเทศศรีลังกามาทำการบวชให้ภิกษุณีสงฆ์ของไทยอีกครั้ง
ตามนัยแห่งพระวินัยบัญญัติแต่ไม่ระบุให้ชัดเจนว่าเป็นนิกายใดนิกายหนึ่งในสองนิกาย จึงทำให้เข้าใจได้ว่าสามารถบวชภิกษุณีได้ แต่อย่างไรก็ตามความเห็นที่ว่านี้แพร่ออกไปได้มีผู้รู้ท่านหนึ่งโทรศัพท์มาบอกผู้เขียนว่าไม่สามารถบวชเป็นภิกษุณีได้
เพราะเป็นสงฆ์ที่เรียกว่า “นานาสังวาส”
จึงทำให้เกิดเป็นข้อขัดแย้งทางความคิดในแง่ของการตีความทางพระวินัย
ดังนั้น จึงเห็นว่าน่าจะนำเรื่องนี้มาเสนอท่านผู้อ่านเพื่อเป็นการทำความเข้าใจให้ถูกต้องโดยยึดพระธรรมวินัยเป็นหลักและไม่มีการสอดแทรกความคิดเห็นอันเป็นปัจเจกบุคคลเข้าไปผสมเพื่อให้เกิดความไขว้เขว
และจะเป็นการทำลายศรัทธาผู้ต้องการบวช ทั้งอาจเป็นการทำให้มีการตีความในทางที่ผิดๆ
ได้ด้วย ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านผู้อ่านควรจะได้รู้ถึงที่มาของการบวชเป็นภิกษุณีและข้อวัตรปฏิบัติที่นางภิกษุณีจะต้องถือปฏิบัติอย่างครบถ้วนด้วย
เริ่มด้วยนางภิกษุณีคนแรกคือใคร และทำไมพระพุทธเจ้าจึงทรงยอมให้ผู้หญิงบวชได้ทั้งๆ
ที่พระพุทธเจ้าเองก็เคยตรัสว่ามาตุคามเป็นอันตรายสำหรับภิกษุบวชใหม่ ซึ่งเปรียบด้วยปลาฉลามร้ายด้วยซ้ำไป
แต่ด้วยเห็นความตั้งใจและความมุ่งมั่นของผู้ต้องการบวชเป็นภิกษุณีจึงยอมตกลงให้บวชได้
พระนางมหาปชาบดีโคตรมีเถรี ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระน้านางของพระพุทธองค์
เป็นสตรีคนแรกที่ต้องการบวชในพระพุทธศาสนา แต่เมื่อมาทูลขอบวช
พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต ด้วยทรงปฏิเสธถึง ๓ ครั้งโดยพระพุทธวาจาว่า
อย่าเลยท่านเป็นมาตุคาม อย่าพอใจบรรพชาเป็นอนาคาริยะในพระธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย และพระนางเห็นว่าไม่ทรงอนุญาตก็ทูลลาไป แต่ในที่สุดพระพุทธองค์ก็ทรงยอมให้พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีบวชได้ เมื่อเห็นว่าพระน้านางตั้งใจจริงและประกอบกับการกราบทูลขอพระอานนท์ผู้เป็นพุทธอุปัฏฐาก
แต่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตโดยมีเงื่อนไขด้วยการตรัสว่า “ดูก่อนอานนท์
ถ้าพระนางปชาบดีโคตมี จะทรงรับครุธรรม ๘ ประการได้ ก็จะอนุญาตให้บวชได้ (ครุธรรม ๘
ประการ ดูหน้า ๔-๕)
จากครุธรรม ๘ ประการนี้
จะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ได้ทรงอนุญาตให้สตรีบวชได้ด้วยเงื่อนไขที่ค่อนข้างเคร่งครัดอย่างมาก
อันเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าพระองค์ทรงมองเห็นความเสื่อมของวงการสงฆ์
อันเกิดจากการให้สตรีบวชแต่โดยง่ายจึงได้วางเงื่อนไขเช่นนี้
และน่าจะเป็นด้วยเงื่อนไขที่ว่านี้เอง
ทำให้วงการภิกษุณีสงฆ์ลดน้อยถอยลงเมื่อเวลาล่วงเลยมา อีกประการหนึ่ง
ในการบัญญัติพระวินัยสำหรับภิกษุณีก็เคร่งครัดกว่าภิกษุทั้งจำนวนก็มากกว่าด้วย
เมื่อเทียบกันจะเห็นได้ว่าพระภิกษุสงฆ์มีศีล ๓๑๑ ข้อ พระภิกษุมีอยู่ ๒๒๗ ข้อ มีมากกว่าอยู่ถึง ๘๔ ข้อ และในจำนวน ๓๑๑ ข้อนี้ เมื่อพิจารณาจากโทษที่ปรับอาบัติแล้วจะเห็นได้ว่าในข้อที่ปรับอาบัติภิกษุในระดับกลาง
คือ สังฆาทิเสสบางข้อ แต่ปรับนางภิกษุณีหนักถึงขั้นปาราชิก เป็นต้น การปรับอาบัติทำนองนี้บ่งบอกชัดเจนว่าทรงเน้นย้ำให้เห็นว่าการปกครองในหมู่ภิกษุณีสงฆ์จะต้องกระทำอย่างเคร่งครัดมากกว่าในหมู่ภิกษุสงฆ์และน่าจะด้วยเหตุนี้ที่ภิกษุณีสงฆ์จึงหมดไปอย่างรวดเร็วเมื่อโลกเปลี่ยนไปและคนมีกิเลสเพิ่มขึ้นจิตใจหยาบขึ้น อย่างไรก็ตาม
ถึงแม้ว่าวินัยจะเข้มงวด
แต่ถ้ายังมีผู้ต้องการบวชและถ้ายืนยันได้ว่ายังมีภิกษุณีสงฆ์สืบต่อโดยไม่ขาดสายก็คงบวชได้ไม่มีปัญหา
แต่ในประเทศไทยเป็นที่แน่นอนว่าไม่เคยมีภิกษุณีสงฆ์ต่อเนื่องมา
จึงยืนยันโดยอาศัยวินัยและครุธรรม ๘ ประการ คงจะมีการบวชให้แก่สตรีเพศเพื่อเป็นภิกษุณีไม่ได้แน่นอน[๕]
การประกาศของมติมหาเถรสมาคมห้ามพระภิกษุบวชภิกษุณี
มติมหาเถรสมาคมห้ามภิกษุสงฆ์ไทยให้การบรรพชาอุปสมบทแก่สตรีเป็นสามเณรีและภิกษุณี
เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ จึงทำให้ พระมหาเถระเหล่านั้นตกเป็นจำเลยในข้อหาอย่างน้อย
๓ ข้อ คือ ๑.จำกัดสิทธิเสรีภาพสตรี ๒. ปฏิบัติขัดหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
๓. ปฏิบัติขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มาตรา ๔ ล้วนเป็นข้อหาฉกาจฉกรรจ์
ข้อหาทั้ง ๓ ข้อนี้มีสาเหตุมาจากการประกาศห้ามพระภิกษุสงฆ์ไทยให้บรรพชาอุปสมบทแก่สตรีเป็นสามเณรีและภิกษุณี
(เถรวาท) และห้ามภิกษุสงฆ์ชาติอื่นมาทำการบรรพชาและอุปสมบทแก่สตรีแบบเถรวาทในประเทศไทยก่อนได้รับอนุญาตจากคณะสงฆ์ไทย ความจริงมหาเถรสมาคมนั้นประกาศห้ามหรือไม่ประกาศห้ามก็มีค่าเท่ากัน
เพราะแม้ท่านจะบวชให้สตรีให้เป็นภิกษุณีเอง
สตรีนั้นก็ไม่มีทางเป็นภิกษุณีได้เลย บวชให้ไปก็เสียเปล่าแถมต้อง[๖]อาบัติอีก
สตรีผู้เข้าบวชก็เท่ากับถูกหลอกให้เป็นภิกษุณีเท่านั้นเอง
ไม่สามารถสำเร็จเป็นภิกษุณี เข้าลักษณะปาราชิกตั้งแต่เริ่มบวชหรือก่อนบวชแล้ว
มีสตรีบางท่านออกมาบอกว่าได้ศึกษามาดีแล้วบวชได้แน่นอนแสดงความอ่อนด้อยปัญญาออกมาชัดๆ ทั้งนี้
ด้วยเหตุผลที่ว่า
๑.
พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์ทำการให้อุปสมบทแก่สตรีซึ่งไม่ได้รับการอุปสมบทมาจากภิกษุณีสงฆ์ก่อน
๒.
ผู้ที่เป็นภิกษุณีต้องเคารพในพระวินัย ต้องเคารพในครุธรรม ๘
การที่ภิกษุสงฆ์จะบวชให้ใครต้องเป็นไปตามพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด
ไม่เอื้อเฟื้อพระวินัยจะเป็นภิกษุณีได้อย่างไร
๓. พระภิกษุสงฆ์ท่านเคารพพระธรรมวินัยเป็นศาสดา ตามบทพระบาลีในมหาปรินิพพานสูตรที่ว่า “โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา” แปลว่า “ดูกรอานนท์ พระธรรมและพระวินัยอันใดที่เรา (ตถาคต) ได้แสดงไว้แล้ว ได้บัญญัติไว้แล้ว แก่เธอทั้งหลาย โดยกาลที่ล่วงไปแห่งเรา (ตถาคต) พระธรรมและพระวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาของพวกเธอ” ภิกษุใดไม่ทำตามนี้ย่อมชื่อว่าไม่เคารพพระศาสดา เมื่อไม่เคารพพระศาสดาการดำรงตนเป็นภิกษุสงฆ์ก็จะมีประโยชน์อะไร
๓. พระภิกษุสงฆ์ท่านเคารพพระธรรมวินัยเป็นศาสดา ตามบทพระบาลีในมหาปรินิพพานสูตรที่ว่า “โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา” แปลว่า “ดูกรอานนท์ พระธรรมและพระวินัยอันใดที่เรา (ตถาคต) ได้แสดงไว้แล้ว ได้บัญญัติไว้แล้ว แก่เธอทั้งหลาย โดยกาลที่ล่วงไปแห่งเรา (ตถาคต) พระธรรมและพระวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาของพวกเธอ” ภิกษุใดไม่ทำตามนี้ย่อมชื่อว่าไม่เคารพพระศาสดา เมื่อไม่เคารพพระศาสดาการดำรงตนเป็นภิกษุสงฆ์ก็จะมีประโยชน์อะไร
๔. ในอปริหานิยธรรมสูตร
พระสูตรว่าด้วยเรื่องหลักแห่งความไม่เสื่อมของหมู่คณะ มีแต่ความเจริญฝ่ายเดียว
เอาเฉพาะข้อที่ ๓ ว่า “ไม่บัญญัติสิกขาบทพระพุทธเจ้าไม่บัญญัติ
ไม่รื้อถอนสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้แล้ว” หมายความว่าถ้าภิกษุรูปใดให้การอุปสมบทแก่สตรีเป็นภิกษุณี
ก็เท่ากับว่าภิกษุรูปนั้นบัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ
รื้อถอนถอนสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว
นั่นคือทำให้พระศาสนาเสื่อมอย่างนั้นแล้วจะเป็นภิกษุอยู่ทำไม
๕.
พระภิกษุสงฆ์ท่านเคารพในพระศาสดาคือพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ท่านเคารพในหลักสิทธิมนุษยชน
ไม่ใช่ท่านเคารพหลักสิทธิเสรีภาพ ท่านไม่ได้เอาหลักเหล่านี้เป็นศาสดา
จึงต้องปฏิบัติตามคำสอนของศาสดา
๖.
พระภิกษุสงฆ์ท่านไม่ได้เอารัฐธรรมนูญเป็นศาสดา
แต่ท่านเอาพระธรรมและพระวินัยเป็นศาสดา
ลองคิดดูเถอะว่าถ้าท่านเอารัฐธรรมนูญเป็นศาสดา ถึงวันนี้พระศาสดาจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร
ไทยเรามีรัฐธรรมนูญมาแล้ว ๑๘ ฉบับ หนึ่งฉบับก็เป็น ๑ หน้า พระพุทธเจ้าก็คงจะ
๑๘ หน้า ๑๙ หน้าไปแล้ว
๗.
เหตุแห่งความเสื่อมของพระศาสนา ๕ อย่าง คือ
๑) พุทธบริษัท ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ
๒) พุทธบริษัท ไม่เรียนธรรมโดยเคารพ
๓) พุทธบริษัท ไม่ทรงจำธรรมโดยเคารพ
๔) พุทธบริษัท
ไม่พิจารณาธรรมที่ทรงจำไว้ได้แล้วโดยเคารพ
๕) พุทธบริษัท
ไม่ยอมปฏิบัติธรรมตามที่ได้ศึกษาเข้าใจแล้วโดยเคารพ
ข้อสุดท้ายคือการไม่ปฏิบัติตามพระธรรมที่ศึกษาแล้ว
แสดงว่าไม่เคารพต่อพระธรรมวินัย พระภิกษุสงฆ์ไทยท่านรักษาพระพุทธศาสนามาได้ ๒,๓๐๐
กว่าปี เพราะท่านปฏิบัติพระธรรมวินัยมาด้วยความเคารพพระธรรมวินัย
การที่นักสิทธิมนุษยชนมาขอร้องหรือมาบังคับให้ท่านทำตามตนย่อมเป็นไปไม่ได้
แต่หากเป็นไปได้เมื่อใดก็เป็นอันว่านับถอยหลังพระพุทธศาสนาได้
อย่างไรก็ตามเชื่อว่าท่านคงไม่ยอมทำเช่นนั้น
๘.
ไม่เคยมีหลักฐานใดแสดงว่าเชื้อสายภิกษุณีสายเถรวาทเคยเข้ามาสู่ประเทศไทย
เอากันตั้งแต่ยุคสุวรรณภูมิที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระโสณเถระ พระอุตตรเถระ
พระฌานียเถระ พระภูริยเถระ พระมุนียเถระ เข้ามาสู่สุวรรณภูมิเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖
ก็ไม่มีภิกษุณีมาด้วย เมื่อกุลธิดา ต้องการจะบวชท่านก็ให้บวชเป็น “ชี” นับตั้งแต่ พ.ศ.
นั้นเองที่แม่ชีเกิดมีขึ้นในแผ่นดินสุวรรณภูมินี้
แล้วมาถึงวันนี้พระภิกษุสงฆ์จะทำการอุปสมบทให้แก่สตรีได้อย่างไร
๙.
พระภิกษุสงฆ์
ท่านจะไม่ทำตัวเป็นศาสดาเสียเองและจะไม่ทำตามคำขอร้องหรือข้อบังคับของใครที่ออกนอกพระธรรมวินัยจะมาอ้างเป็นนักสิทธิมนุษยชน
เป็นนักเสรีภาพ เป็นนักประชาธิปไตย เป็นนักร่างกฎหมายหรือนักใดๆก็นักไปเถอะ
เว้นแต่ภิกษุสงฆ์ท่านผู้นั้นจะเป็นพระนอกคอก คือ นอกพระธรรม นอกพระวินัยเท่านั้นไม่เคารพในพระศาสดาเท่านั้น
๑๐.
การวิพากษ์ว่าพระสงฆ์ไทยใจแคบก็คือการด่าพระสงฆ์
การวิพากษ์ว่าพระสงฆ์ไม่เคารพหลักสิทธิมนุษยชนก็คือการด่าพระสงฆ์
การที่มีข่าวทางโซเชียลมีเดียว่าจะไปสอบพระสงฆ์ซึ่งดำรงตำแหน่งมหาเถรสมาคม ทั้งๆ
ที่รู้อยู่แล้วว่าท่านมีมติไปตามพระธรรมวินัย
นับว่าเป็นวาทะที่น่าสมเพชเวทนาที่สุด
ไม่รู้ว่าเขาเหล่านั้นมาจากโลกไหนสวรรค์ไหน
ความจริงพระภิกษุสงฆ์ท่านก็มีสิทธิเสรีภาพของท่านเหมือนกัน
จะไปรุกล้ำสิทธิเสรีภาพของท่านได้อย่างไร
๑๑.
จากข่าวเรื่องการบวชภิกษุณีได้ทราบว่าสตรีเหล่านั้นบางส่วนไปบวชมาจากประเทศอื่นและกว่าสามสิบชีวิตมาบวชที่เกาะยอจังหวัดสงขลา
แต่เอาพระภิกษุจากต่างประเทศมาเป็นพระอุปัชฌาย์ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าอุปัชฌาย์นั้นมีความรู้เรื่องพระวินัยเพียงใด
มาจากพระสงฆ์นิกายไหน ท่านมีมารยาทเหมาะสมหรือสมควรเพียงไร ในการที่จะมาเป็นอุปัชฌาย์เพื่อให้เกิดปัญหาขึ้นในสังคมไทย
๑๒.
ท่านผู้อ้างว่าเป็นภิกษุณีเหล่านั้นไปบวชมากับใครไม่รู้
แต่จะมาบังคับข่มขู่ให้คณะสงฆ์ไทยยอมรับเป็นลูก
ก็ไม่รู้ว่าไปเป็นลูกใครมาแล้วจะมาขอร้อง บังคับ ข่มขู่ หาพวกมาข่มขู่
ให้พระภิกษุสงฆ์ไทยรับเป็นลูก มันเป็นเรื่องตลกที่หัวเราะไม่ออกจริงๆ
ไปทำโคลนที่ไหนไม่รู้แล้วมาเรียกร้องหาพ่อ
สรุปว่าใครจะปฏิบัติธรรมก็ปฏิบัติไปเถอะ ไม่มีใครกีดกัน
ทุกคนสามารถปฏิบัติธรรมได้ แต่ อย่าไปบังคับขู่เข็ญคนอื่นเขา อย่าไปล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพของคนอื่นเขา
พระสงฆ์ท่านยอมรับในกฎเกณฑ์กติกา ยอมที่จะไม่มีครอบครัว
ยอมที่จะสละชีวิตบูชาพระธรรมวินัยอันเป็นสิ่งแทนพระบรมศาสดา มหาเถรสมาคมท่านปฏิบัติหน้าที่ของท่านถูกต้องแล้ว
ส่วนว่าใครจะบูชาหลักสิทธิมนุษยชนหรือบูชารัฐธรรมนูญเป็นศาสดาก็เชิญตามอัธยาสัยเถิด[๗]
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (๒๕๕๐) กับการบวชภิกษุณี
“มาตรา ๓๗
บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา
นิกายของศาสนาหรือลัทธินิยมในทางศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนาธรรม
ศาสนบัญญัติหรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน
เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การใช้เสรีภาพตามวรรคหนึ่ง
บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองมิให้รัฐกระทำการใดๆ อันเป็นการรอนสิทธิหรือเสียประโยชน์อันควรมีควรได้
เพราะเหตุที่ถือศาสนา ลัทธินิยมในทางศาสนาหรือปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ
หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือแตกต่างจากบุคคลอื่น”
จากการที่มหาเถรสมาคมได้มีมติรับทราบมติของคณะสงฆ์วัดหนองป่าพง
จังหวัดอุบลราชธานีที่มีมติให้ถอดวัดโพธิญาณ เมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย
ออกจากการเป็นสาขาของวัดหนองป่าพง ทั้งนี้เนื่องจากคณะสงฆ์วัดโพธิญาณ ที่มีพระวิสุทธิสังวรเถร
(พระพรหมวังโส) เป็นเจ้าอาวาสได้บวชให้แก่ภิกษุณี เมื่อช่วงปลายเดือนตุลาคม
๒๕๕๒ โดยบวชสตรีชาวต่างประเทศ ๔ คน โดยมีภิกษุณีอยยา ทถาโลก เป็นพระอุปัชฌาย์
พระวิสุทธิสังวรเถร เป็นพระกรรมวาจาจารย์พระสุชาโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ซึ่งเป็นการกระทำเช่นนี้มหาเถรสมาคมถือว่าขัดกับระเบียบของคณะสงฆ์ไทยเพราะได้มีพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
พ.ศ. ๒๔๗๑ ห้ามภิกษุสงฆ์ในประเทศไทย อุปสมบทให้แก่สตรี
คำวินิจฉัยของมหาเถรสมาคมในการประชุมครั้งที่ ๒๘/๒๕๒๗ และครั้งที่ ๑๘/๒๕๓๐
ห้ามภิกษุสงฆ์ทำพิธีอุปสมบทให้สตรีเป็นภิกษุณี และพระวรธรรมคติสมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๔
ห้ามบวชให้แก่สตรีเพื่อเป็นภิกษุณี กรณีเช่นนี้
ในทางกฎหมายไทยถือได้ว่าวัดดังกล่าวไม่มีต้นสังกัดดูแลและจะส่งผลให้ไม่ได้รับการดูแลจากทางสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ
และมหาเถรสมาคมด้วย อย่างไรก็ตามสถานภาพของวัดจะยังคงอยู่
เพราะได้รับการอนุญาตจากทางประเทศออสเตรเลียแล้ว
แต่ประเด็นที่ตามมาจากกรณีนี้ก็นำไปสู่การถกเถียงอีกครั้งหนึ่งว่าการห้ามบวชภิกษุณีของคณะสงฆ์ไทยนั้นถูกต้องชอบธรรมแล้วหรือไม่
เมื่อเราพิเคราะห์ถึงรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดและพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
พ.ศ.๒๕๐๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ไม่พบว่ามีบทบัญญัติใดที่ห้ามมิให้มีการบวชภิกษุณีแต่อย่างใดและยิ่งเมื่อพิจารณาควบคู่กับปฏิญญาสากล
ข้อที่ ๑๘ ที่ว่า
ทุกคนมีสิทธิ์ในการนับถือศาสนาแล้วยิ่งเห็นได้ชัดว่าสามารถกระทำได้ ฉะนั้น
การที่อ้างประเด็นในข้อกฎหมายว่าการบวชภิกษุณีของไทยเรานั้นไม่สามารถทำได้จึงไม่เป็นการถูกต้อง
แต่หากจะอ้างเหตุผลอื่น เช่น อ้างว่าการบวชภิกษุณีต้องบวช ๒ ครั้ง คือ
บวชเป็นภิกษุณีสงฆ์ก่อน แล้วจึงบวชจากภิกษุสงฆ์อีกครั้ง
แต่ภิกษุณีสงฆ์ในฝ่ายเถรวาทได้ขาดช่วงไปแล้ว
เมื่อไม่มีภิกษุณีสงฆ์จึงบวชภิกษุณีไม่ได้ จึงพอรับฟังได้บ้าง แต่เมื่อพิจารณาโดยละเอียดแล้วพบว่าอันที่จริงในสมัยพระพุทธเจ้าไม่ได้มีการแบ่งแยกนิกายเป็นมหายานหรือเถรวาทแต่อย่างใด
กอปรกับในศรีลังกาซึ่งเป็นเถรวาทเหมือนกับเราก็ยังคงมีภิกษุณีอยู่และมีการบวชภิกษุณีกันอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
และภิกษุณีที่เป็นคนไทยเราหลายท่านก็บวชมาจากศรีลังกานี่เอง บางท่านอาจจะโต้แย้งว่าภิกษุณีที่ศรีลังกาหมดไปแล้วมิใช่หรือนั้น
สามารถอธิบายได้ว่าเมื่อ ประมาณปี พ.ศ.๙๐๐ คณะภิกษุณีสงฆ์ที่ศรีลังกา
ได้ไปบวชภิกษุณีที่วัดป่าใต้ เมืองนานกิง เป็นการสืบทอดการบวช ภิกษุณีสงฆ์ จากศรีลังกาไปประเทศจีน
และเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๕๐๐ ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์
สูญสิ้นไปจากศรีลังกา เพราะการรุกรานของกษัตริย์ฮินดูจากอินเดียตอนใต้
ซึ่งต่อมาคณะภิกษุณีสงฆ์จากศรีลังกาก็ไปรับการบวชมาจากภิกษุณีสงฆ์จากไต้หวัน
ซึ่งเป็นสายจีนที่บวชจากศรีลังกาแต่เดิมมานั่นเอง สายการบวชสายนี้จึงนับว่าเป็นสายเดียวกันโดยปริยาย
เมื่อเราพิจารณาถึงแง่มุมทางประวัติศาสตร์พุทธศาสนาแล้วจะพบว่าในสมัยพุทธกาลนั้นไม่นิยมในการที่ผู้หญิงจะออกบวช
วัฒนธรรมของอินเดียโบราณนั้นผู้หญิงจะหลุดพ้นได้เพียงอย่างเดียวก็คือการภักดีต่อสามี
เพราะฉะนั้นการที่ผู้หญิงจะขอบวชในสมัยพระพุทธเจ้า
พระองค์จึงจำเป็นที่จะต้องไตร่ตรองให้รอบคอบ โดยทรงปฏิเสธถึงสามครั้ง
ในที่สุดพระอานนท์ทูลถามว่าผู้หญิงกับผู้ชายมีศักยภาพในการเข้าถึงธรรมเช่นเดียวกันหรือไม่
พระองค์ทรงยืนยันว่า ทั้งผู้หญิงผู้ชายมีศักยภาพในการเข้าถึงธรรม
และสามารถบรรลุธรรมเช่นเดียวกัน สาระข้อนี้เป็นสาระที่สำคัญยิ่งในพุทธศาสนา
เพราะไม่มีศาสนาอื่นก่อนหน้านี้ที่กล้าที่จะรับรองความสามารถของหญิงชายทัดเทียมกัน
ซึ่งหมายความว่า
ศาสนาพุทธนั้นเป็นศาสนาแรกในโลกที่เปิดประตูของการเข้าสู่อิสรภาพทางจิตวิญญาณว่าไม่ได้จำกัด
โดยเพศ สีผิว หรือวรรณะ
โดยก่อนหน้านี้พระพุทธเจ้าทรงยกเลิกวรรณะซึ่งเป็นโครงสร้างทางสังคมที่สำคัญของวัฒนธรรมอินเดียในศาสนาของพระองค์ไปแล้ว
ทรงยกเลิกความแตกต่างทางวรรณะ ทรงยกเลิกความแตกต่างทางเชื้อชาติ สีผิวและเพศ
ซึ่งเป็นจุดสำคัญของพุทธศาสนาที่ทำให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของโลก มิใช่เป็นศาสนาที่จำกัดอยู่เฉพาะในดินแดนชมพูทวีปเท่านั้น
ถือได้ว่าเป็นความงดงามที่ส่งประกายทำให้พุทธศาสนาเจิดจรัสเป็นศาสนาสำคัญชองโลกศาสนาหนึ่ง หลังจากที่พระพุทธเจ้าประทานอนุญาตให้ผู้หญิงบวชเพราะผู้หญิงสามารถบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกับผู้ชายแล้ว
พระองค์ก็ประทานโอวาทว่าพุทธศาสนานี้ต่อไปในอนาคตจะเสื่อมหรือจะเจริญขึ้นอยู่กับการดูแลและการปฏิบัติของพุทธบริษัท
๔ อันได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ทรงรับสั่งด้วยว่าต่อไปพระศาสนาจะเสื่อมเมื่อภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ไม่เคารพยำเกรงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่เคารพยำเกรงในศีลและสมาธิ
พุทธศาสนาที่พระองค์เรียกว่าพระสัจธรรมในต่อไปในอนาคตข้างหน้าจะเสื่อมหากพุทธบริษัท
๔ ไม่เคารพซึ่งกันและกัน
จากพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงวางเอาไว้ดังกล่าว
เมื่อพิจารณาถึงประเด็นในปัจจุบันที่เราถกเถียงกันว่าควรจะมีการห้ามบวชภิกษุณีหรือไม่นั้น
จึงได้รับคำตอบว่าสมควรอย่างยิ่งที่จะให้มีภิกษุณีเกิดขึ้น ทั้งนี้
เพื่อให้เป็นไปตามที่พระพุทธเจ้าประทานอนุญาตและไว้วางใจให้พุทธบริษัท ๔
ช่วยกันดูแลสืบสานพระพุทธศาสนา หากไร้เสียซึ่งภิกษุณี พุทธบริษัท ๔
ยังคงเป็นเพียงพุทธบริษัท ๓ เช่นในปัจจุบันแล้วไซร้พระพุทธศาสนาในประเทศไทยจะไม่เสื่อมลงได้อย่างไร ฉะนั้น
การห้ามสตรีบวชภิกษุณีนอกจากจะขัดต่อเสรีภาพในการนับถือศาสนา นิกายของศาสนา
หรือลัทธินิยมในทางศาสนาตามรัฐธรรมนูญแล้ว ยังเป็นการขัดต่อพุทธประสงค์
เพราะเป็นการบัญญัติสิ่งที่นอกเหนือจากที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้อีกด้วย[๘]
พระภิกษุณีสงฆ์ในประเทศไทยทางเลือกใหม่ที่เลี่ยงได้ยาก
การเกิดขึ้นภิกษุณีสงฆ์ขึ้นในประเทศไทยดูเหมือนเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เสียแล้ว
หากเป็นเมื่อ ๗๐ ปีก่อน คงไม่สามารถพูดเช่นนี้ได้
แต่ปัจจุบันนี้สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปจนสามารถกล่าวได้ว่าอะไรๆ
ก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น คณะสงฆ์ทุกวันนี้อ่อนแออย่างมากจนยากที่จะขัดขวางมิให้มีสามเณรีหรือภิกษุณีดังที่ได้เคยทำสำเร็จมาแล้วเมื่อปี
๒๔๗๐ ไม่ว่าคณะสงฆ์จะใช้มาตรการใดๆ
มาสกัดกั้นห้ามปรามก็มิพึงหวังว่าจะได้รับความสนับสนุนจากผู้คนดังแต่ก่อน ทุกวันนี้คณะสงฆ์ได้สูญเสียศรัทธาจากประชาชนไปมากจนยากที่จะนำประชาชนให้เห็นคล้อยตามได้ง่ายๆ
มิใยต้องเอ่ยว่ากี่ครั้งกี่หนแล้วที่คณะสงฆ์ได้ทำสิ่งที่สวนทางกับความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคม
จนทำให้เกิดความระอากันไปทั่วหน้า กรณีธรรมกายเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจน ใช่แต่เท่านั้น
การที่คณะสงฆ์จะยืมมือรัฐมาจัดการกับผู้ที่บวชเป็นสามเณรีหรือภิกษุณี ดังเมื่อ ๗๐ ปีก่อนก็ไม่ใช่เรื่องง่ายแล้ว
ไม่มีรัฐบาลใดในเวลานี้ที่สนใจหรืออยากจะมายุ่งเกี่ยวกับเรื่องศาสนาและพระสงฆ์
ตราบใดที่ไม่มากระทบกับความมั่นคงของรัฐและรัฐบาล
ยิ่งเป็นประเด็นที่มีคนเห็นด้วยและสนับสนุนเป็นจำนวนมากด้วยแล้ว
ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับรัฐบาลคือให้คณะสงฆ์จัดการแก้ปัญหาเอาเอง
และก็เป็นที่คาดเดาได้ไม่ยากว่าหากมหาเถรสมาคมไม่นิ่งเงียบอยู่เฉยๆ
ดังที่มักทำเป็นอาจิณ สิ่งที่ทำได้อย่างมากคือ
มีมติและออกคำสั่งที่ไร้ผลในทางปฏิบัติ แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาไม่ใช่สาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้ภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นได้ในประเทศไทย
สาเหตุสำคัญเหนืออื่นใดก็คือ
การสนับสนุนของผู้คนในสังคมที่อยากเห็นภิกษุณีเกิดขึ้น
นี้เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่เป็นตัวชี้ขาดว่าภิกษุณีสงฆ์จะเกิดขึ้นได้ในเมืองไทยหรือไม่
ถึงแม้คณะสงฆ์และรัฐบาลจะไม่ยอมรับว่ามีสามเณรีหรือภิกษุณี
แต่ถ้าประชาชนให้ความเคารพนับถือ สามเณรีหรือภิกษุณีก็เกิดขึ้นแล้วในความรู้สึกนึกคิดของประชาชน
ไม่ว่าจะเรียกด้วยชื่ออะไรก็ตาม ความเป็นพระนั้นไม่ได้ถูกกำหนดด้วยกฎหมายหรือการรับรองของรัฐและคณะสงฆ์เท่านั้น
หากยังขึ้นอยู่กับธรรมวินัยและการยอมรับของประชาชนด้วย
ถึงจะเป็นพระที่ถูกต้องตามกฎหมาย (เช่น
บวชถูกต้องตามระเบียบคณะสงฆ์และยังไม่ถูกจับสึกเพราะต้องปาราชิก)
แต่ถ้าได้ต้องปาราชิกแล้ว และญาติโยมไม่นับถือว่าเป็นพระ
ตามพระธรรมวินัยก็ไม่ถือว่าเป็นพระแล้ว
ขณะเดียวกันก็มิใช่พระในความรู้สึกนึกคิดของชาวบ้านด้วยเช่นกัน ในอีกด้านหนึ่ง
ถึงแม้จะไม่ได้เป็นพระตามที่กฎหมายรับรอง (เช่น
ไม่ได้บวชกับอุปัชฌาย์ที่รัฐและคณะสงฆ์รับรอง)
แต่บวชและประพฤติตนถูกต้องตามพระธรรมวินัย อีกทั้งประชาชนยอมรับก็ถือว่าเป็นพระวันยังค่ำ
(ดังที่คนไทยมักให้ความเคารพแก่พระนิกายอื่นซึ่งบวชจากต่างประเทศดุจเดียวกับพระไทย)
คนไทยที่อยากเห็นภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นในเมืองไทยนับวันจะมีมากขึ้น
ส่วนหนึ่งเพราะว่าภิกษุณีสงฆ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเผยแผ่ธรรมและส่งเสริมการปฏิบัติ โดยเฉพาะในหมู่ผู้หญิง
ความจำเป็นดังกล่าวปรากฏให้เห็นเด่นชัดขึ้นเมื่อพบว่าในระยะหลังมีผู้หญิงเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้สนใจแค่การทำบุญ
(ให้ทาน) เท่านั้น
หากยังสนใจการทำสมาธิวิปัสสนาและการศึกษาธรรมเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาชีวิต
กลุ่มคนที่เข้าวัดเพื่อปฏิบัติธรรมดังกล่าวบ่อยครั้งจะพบว่ามีข้อจำกัดในการฝึกฝนเรียนรู้กับพระ
เงื่อนไขทางพระวินัยเป็นเพียงสาเหตุหนึ่งเท่านั้นที่สำคัญไม่น้อยก็คือภูมิหลังและประสบการณ์อันเนื่องจากความแตกต่างระหว่างเพศ
ซึ่งทำให้พระมีข้อจำกัดในการชี้แนะแก้ปัญหาของโยมผู้หญิงได้ตรงจุด
ใช่แต่เท่านั้นพระที่มีความสามารถในการสอนธรรมให้แก่ผู้หญิงหรือคนทั่วไปก็มีอยู่น้อยเมื่อเทียบกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นทุกที
ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่ระยะหลังมีผู้หญิงจำนวนมากขึ้นที่หันมาฝึกฝนปฏิบัติธรรมกับผู้หญิงด้วยกัน
สำนักปฏิบัติธรรมที่มีผู้หญิงเป็นเจ้าสำนักหรือหลักสูตรการปฏิบัติธรรมที่มีผู้หญิงเป็นครูบาอาจารย์
ผุดขึ้นไปทั่ว ขณะเดียวกันการที่มีผู้หญิงเป็นครูบาอาจารย์ทางพระพุทธศาสนากันมากขึ้น
ทั้งที่เป็นฆราวาสและนักบวช (แม่ชี) ก็เป็นเครื่องชี้ถึงความรู้และความสามารถของผู้หญิงที่เพิ่มมากขึ้น
อันเป็นผลจากการมีโอกาสได้รับการศึกษามากขึ้น ผิดกับแต่ก่อนที่ผู้หญิงถูกปิดโอกาส
ในอดีตจึงมีบทบาทเพียงแค่เป็นโยมอุปัฏฐาก
อย่างไรก็ตามศักยภาพของผู้หญิงในการศึกษาและเผยแผ่ธรรมยังมีมากกว่านี้
ชีวิตอย่างคฤหัสถ์หรือแม้แต่แม่ชียังเป็นเงื่อนไขอันจำกัดในการพัฒนาศักยภาพดังกล่าว
สิ่งที่จะเพิ่มพูนศักยภาพให้มากขึ้นก็คือชุมชนและวิถีชีวิตอย่างพระ
นี้เป็นสาเหตุที่พระพุทธองค์ทรงตั้งชุมชนของพระที่เรียกว่า "สงฆ์"
ขึ้นมา โดยมีระบบชุมชนและระเบียบชีวิตที่เรียกว่า "วินัย" ซึ่งเอื้อต่อการฝึกฝนพัฒนาตนและการเผยแผ่ธรรม
จริงอยู่การปฏิบัติธรรมนั้นจะอยู่ในสถานะไหนก็ทำได้ทั้งนั้นไม่จำเป็นต้องบวชพระ
แต่พระพุทธองค์ทรงตระหนักดีว่าการฝึกฝนพัฒนาตนนั้น ลำพังปัจจัยภายในเช่นความตั้งใจอย่างเดียวยังไม่พอ
ควรอาศัยปัจจัยภายนอกหรือสภาพแวดล้อมมาช่วยด้วยเพื่อให้ศักยภาพหรือผู้รับใช้พระเท่านั้นได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่
จนไม่เพียงแต่บรรลุประโยชน์ตนเท่านั้น หากยังสามารถบำเพ็ญประโยชน์ท่านได้ด้วย
นี้คือเหตุผลที่ทรงเชิญชวนให้คฤหัสถ์ที่บรรลุธรรมถึงขั้นอรหัตผล
มาบวชเป็นภิกษุและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสงฆ์ ทั้งๆ
ที่ท่านเหล่านั้นหมดกิจที่จะต้องฝึกฝนตนเองแล้วเป็นเวลาช้านานแล้วที่ผู้ชายมีชุมชนสงฆ์รองรับเพื่อฝึกฝนพัฒนาตนได้อย่างเต็มที่
ถึงเวลาแล้วที่ผู้หญิงพึงได้รับโอกาสดังกล่าวด้วยเช่นกัน พึงตระหนักว่าการเปิดโอกาสหรือส่งเสริมให้มีภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นในเมืองไทยนั้น
ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ความเสมอภาคทางด้านสิทธิระหว่างเพศหรือการยกสถานะของผู้หญิงให้เท่าเทียมชาย
หากอยู่ที่การส่งเสริมให้ผู้หญิงมีโอกาสได้รับการฝึกฝนพัฒนาตนอย่างเต็มที่
เพื่อความเจริญงอกงามแห่งธรรม ตราบใดที่ยังมองไม่เห็นจุดนี้
แต่ไปเข้าใจว่านี้เป็นเรื่องการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของผู้หญิง
ภิกษุณีสงฆ์ก็จะกลายเป็นประเด็นที่สร้างความเข้าใจผิดได้มาก นิมิตดีสำหรับวงการพุทธศาสนาก็คือ
บัดนี้ภิกษุณีสงฆ์ได้เกิดขึ้นแล้วในประเทศศรีลังกา และนับวันจะตั้งมั่นแม้จะถูกต่อต้านคัดค้านจากพระผู้ใหญ่จำนวนไม่น้อย
แต่ก็ไม่สามารถขัดขวางได้เนื่องจากภิกษุณีสงฆ์ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนจำนวนมาก
โดยมีพระผู้ใหญ่ให้การช่วยเหลือด้วย จนบัดนี้มีภิกษุณีแล้วกว่า ๒๐๐ รูป ไม่มีใครในศรีลังกาที่คัดค้านภิกษุณีด้วยเหตุผลง่ายๆ
(ซึ่งมักได้ยินในเมืองไทย)ว่า มาบวชเพราะอกหัก ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะแม่ชีที่นั่น
("ทศศีลมาตา" ถือศีลสิบ) เป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของผู้คนว่าเป็นผู้มีศีลาจารวัตรงดงาม
มีความรู้ดีทางพุทธศาสนา อีกทั้งอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา
จนมีสถานภาพแทบไม่ต่างจากพระ ดังนั้น เมื่อมาบวชเป็นสามเณรีและภิกษุณี
จึงเป็นที่ยอมรับของสังคมได้ง่าย
กระนั้นก็ตามมีเหตุผลหนึ่งที่มักอ้างกันและน่ารับฟังก็คือ
ภิกษุณีสงฆ์ได้ขาดสายไปนานแล้ว
จึงไม่สามารถที่จะบวชภิกษุณีให้ถูกต้องตามพระวินัยได้
เนื่องจากในการบวชภิกษุณีนั้นจะต้องมีสงฆ์ทั้งสองฝ่ายคือภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์รับรอง
เมื่อสงฆ์ไม่ครบจึงไม่สามารถบวชภิกษุณีได้
แต่ทางออกของฝ่ายสนับสนุนภิกษุณีในศรีลังกาก็คือ
การอาศัยภิกษุณีสงฆ์ที่ไต้หวันมาทำพิธีอุปสมบทตามแบบเถรวาทเมื่อปี ๒๕๔๑
โดยบวชท่ามกลางภิกษุสงฆ์ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานอีกชั้นหนึ่งด้วย
แม้จะมีข้อโต้แย้งว่าภิกษุณีสงฆ์มหายานสามารถบวชภิกษุณีเถรวาทได้หรือ
แต่ข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้ก็คือ
เมื่อสืบสายไปให้ถึงที่สุดแล้วภิกษุณีมหายานก็ถือกำเนิดมาจากภิกษุณีเถรวาทนั่นเอง
ดังมีหลักฐานว่ามีภิกษุณีสงฆ์จากลังกาไปบวชภิกษุณีในจีนเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๐
และนับแต่นั้นก็มีการสืบต่อไม่ขาดสายจนถึงปัจจุบัน
ใช่แต่เท่านั้นวินัยปาฏิโมกข์ของภิกษุณีมหายานก็แทบไม่ผิดแผกจากของเถรวาทเลย
กล่าวคือแตกต่างตรงที่ข้อปลีกย่อยและจำนวนสิกขาบท (ของมหายานมีมากกว่าประมาณ ๑๒
ข้อ)
ประเด็นเรื่องพระวินัยนั้นเป็นเรื่องที่ยังถกเถียงกันได้มาก
แต่การพิจารณาเรื่องภิกษุณีสงฆ์
หาควรไม่ที่จะเริ่มต้นด้วยประเด็นพระวินัย ข้อที่ควรพิจารณาเป็นประการแรกสุดก็คือ
ควรหรือไม่ที่จะมีภิกษุณีสงฆ์ในเมืองไทย
ทั้งนี้โดยคำนึงถึงประโยชน์อันเกิดแก่พระศาสนาและสังคมไทยเป็นสำคัญ
และไม่ควรนำเอาอคติส่วนตัวมาเป็นอารมณ์
(ซึ่งรวมไปถึงการทำใจไม่ได้หากผู้หญิงจะมาเป็นพระ
หรือทนไม่ได้ที่ผู้ชายจะไหว้ผู้หญิง) ต่อเมื่อเห็นว่าควรมีภิกษุณีสงฆ์ในเมืองไทย จึงค่อยพิจารณาถึงพระวินัยว่าเอื้ออำนวยหรือเปิดช่องให้มีการบวชภิกษุณีในปัจจุบันได้หรือไม่
นั่นหมายความว่าหากสรุปว่าควรมีภิกษุณีก็น่าจะต้องมีการตีความพระวินัยใหม่ให้เอี้อต่อการบวชภิกษุณี
ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องคิดค้นรูปแบบใหม่สำหรับนักบวชหญิง
ซึ่งก็คือภิกษุณีในชื่อใหม่นั่นเอง
โดยที่ยังคงปฏิบัติตามวินัยปาฏิโมกข์ของภิกษุณีที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติ สามเณรีธัมมนันทาคือ จุดเริ่มต้นของการสถาปนาภิกษุณีสงฆ์ขึ้นในเมืองไทย
แม้ปัจจุบันมีหญิงไทยบางคนที่บวชเป็นภิกษุณีแล้ว แต่ก็ยังไม่ครบองค์สงฆ์ ความรู้ ความสามารถและการอุทิศตนเพื่อพระศาสนาของสามเณรีและภิกษุณีไทยในปัจจุบันและที่จะตามมาในอนาคตเป็นตัวกำหนดสำคัญที่สุดว่าสังคมไทยจะยอมรับภิกษุณีสงฆ์หรือไม่
หากสังคมไทยยอมรับและสนับสนุน ไม่ว่ารัฐและคณะสงฆ์ก็ไม่อาจขัดขวางได้[๙]
พุทธศาสนากับแนวคิดเกี่ยวกับภิกษุณี
ปัจจุบันที่กำลังมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างสูงในสังคมชาวพุทธถึงการออกบวชของสตรีเพื่อเป็นภิกษุณี ผู้ศรัทธาออกบวช ในฝ่ายเถรวาทนิยมโกนหัวนุ่งขาว
ห่มขาว ถือศีลอุโบสถ
บวชเป็นแม่ชี
แทนภิกษุณีไม่เหมือนกับแม่ชี เพราะแม่ชีเป็นเพียงอุบาสิกา
(พุทธศาสนิกชนผู้หญิง) ซึ่งถือศีล ๘ ข้อ
อย่างชาวพุทธทั่วไปที่เคร่งครัด ปัจจุบันในฝ่ายคณะสงฆ์เถรวาทนับถือกันโดยพฤตินัยว่าการบวชเป็นแม่ชีที่โกนศีรษะนุ่งขาวห่มขาว
ถือศีล
๘
เป็นการผ่อนผันผู้หญิงที่ศรัทธาจะออกบวชเป็นภิกษุณีเถรวาท
แต่ไม่สามารถอุปสมบทเป็นภิกษุณีเถรวาทได้ โดยจะให้ถือปฏิบัติศีล ๘ (อุโบสถศีล) แทน
ก่อนที่ภิกษุณีสงฆ์จะหมดไปจากอินเดียนั้น พระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งพระธรรมทูตออกไป
๙ สาย สายที่ ๙ ส่งพระมหินทรเถระไปศรีลังกา
การเผยแพร่ศาสนาพุทธประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง
พระนางอนุลา น้องสะใภ้ของกษัตริย์ศรีลังกา ทรงอยากผนวช จึงนิมนต์พระนางสังฆมิตตาเถรี พระธิดาของพระเจ้าอโศกมาเป็นปวัตตินีให้ ("ปวัตตินี" คือ พระอุปัชฌาย์ที่เป็นผู้หญิง) จากศรีลังกาภิกษุณีสงฆ์ได้ไปสืบสายไว้ในจีน ไต้หวัน และสถานที่อื่นๆ จนกระทั่งพุทธศาสนาที่อินเดียและศรีลังกาเสื่อมลงลงไปในช่วงหลัง ทำให้ภิกษุณีฝ่ายเถรวาทซึ่งมีศีล และข้อปฏิบัติที่ยุ่งยากไม่สามารถรักษาวงศ์ของภิกษุณีเถรวาทไว้ได้ จึงทำให้ไม่มีผู้สืบทอดการบวชเป็นภิกษุณีสามเถรวาทในปัจจุบัน
พระนางอนุลา น้องสะใภ้ของกษัตริย์ศรีลังกา ทรงอยากผนวช จึงนิมนต์พระนางสังฆมิตตาเถรี พระธิดาของพระเจ้าอโศกมาเป็นปวัตตินีให้ ("ปวัตตินี" คือ พระอุปัชฌาย์ที่เป็นผู้หญิง) จากศรีลังกาภิกษุณีสงฆ์ได้ไปสืบสายไว้ในจีน ไต้หวัน และสถานที่อื่นๆ จนกระทั่งพุทธศาสนาที่อินเดียและศรีลังกาเสื่อมลงลงไปในช่วงหลัง ทำให้ภิกษุณีฝ่ายเถรวาทซึ่งมีศีล และข้อปฏิบัติที่ยุ่งยากไม่สามารถรักษาวงศ์ของภิกษุณีเถรวาทไว้ได้ จึงทำให้ไม่มีผู้สืบทอดการบวชเป็นภิกษุณีสามเถรวาทในปัจจุบัน
ภิกษุณีในสายเถรวาทปัจจุบันสืบวงศ์มาแต่สมัยพุทธกาลด้วยการบวชถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท
จากสงฆ์ทั้งสองฝ่าย
(ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์)
ขาดสูญวงศ์ (ไม่มีผู้สืบต่อ) คงเหลือแต่ภิกษุณีฝ่ายมหายาน (อาจริยวาท)
ที่ยังสืบทอดการบวชภิกษุณีมาจนปัจจุบัน
ซึ่งในปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีภิกษุณีเถรวาทในประเทศไทย
แต่ยังมีพบอยู่ในจีน (มหายาน) และศรีลังกา (เถรวาท
ซึ่งรับการบวชกลับมาจากภิกษุณีมหายานของจีน)
และในปัจจุบันได้มีการพยายามรื้อฟื้นภิกษุณีในฝ่ายของเถรวาท โดยได้ทำการบวชมาจากภิกษุณีมหายาน
และกล่าวว่าภิกษุณีฝ่ายมหายานนั้นก็ได้สืบวงศ์ภิกษุณีสงฆ์มาจากฝ่ายเถรวาทเช่นกัน แต่สำหรับในกรณีนี้เคยมีประเด็นถกเถียงอยู่ช่วงหนึ่งว่าปัจจุบันนี้สามารถบวชภิกษุณีได้หรือไม่
โดยมีข้อสรุปจากทางพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทว่าพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้มีการบวชเป็นภิกษุณีได้ก็ต่อเมื่อบวชต่อสงฆ์ทั้ง
๒ ฝ่าย คือ ต้องบวชทั้งฝ่ายพระภิกษุสงฆ์และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์เป็นการลงญัตติจตุตถกรรมวาจาทั้งสองฝ่าย
จึงจะสามารถเป็นภิกษุณีได้ ดังนั้นในเมื่อภิกษุณีสงฆ์เถรวาทได้เสื่อมสิ้นลงไม่มีผู้สืบต่อ
จึงทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถทำการบวชผู้หญิงเป็นภิกษุณีฝ่ายเถรวาทได้ การที่มีข้ออ้างว่าสายมหายานสืบสายวงศ์ภิกษุณีสงฆ์ไปก็ไม่สามารถอ้างได้
เพราะการสืบสายทางมหายานมีข้อวินัยและการทำสังฆกรรมบวชภิกษุณีที่ไม่ถูกต้องกับพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท
ปัจจุบันศรีลังกาพยายามฟื้นฟูภิกษุณีสงฆ์ จนมีหลายร้อยรูป ประเทศไทยก็มีคนบวชเป็นภิกษุณีหลายรูปแล้วเช่นกันแต่คณะสงฆ์ไทยไม่ยอมรับเป็นภิกษุณีสงฆ์
การบวชภิกษุณีสายเถรวาทในประเทศไทย แม้จะได้รับการสนับสนุนจากพระภิกษุส่วนหนึ่งและจากฆราวาส
แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับจากคณะสงฆ์เนื่องจากมีกฎบังคับห้ามภิกษุบวชหญิงเป็นภิกษุณี
ทำให้สามเณรีซึ่งผ่านการฝึกฝนอบรม
(สิกขมานา) สองปีที่ต้องการบวชเป็นภิกษุณี ต้องไปรับการบวชที่ต่างประเทศ เช่น
ศรีลังกา ไต้หวัน เป็นต้น
หรือไม่ก็ต้องนิมนต์พระภิกษุจากต่างประเทศมาร่วมให้การอุปสมบท อีกทั้งยังมีฐานะเป็นเพียงอุบาสิกาเท่านั้น การคัดค้านการบวชภิกษุณีจากฝ่ายเถรวาท
อ้างจากพุทธทำนายที่ว่าการรับมาตุคามเข้ามาบวชจะทำให้อายุพระสัทธรรมสั้นลงเหลือ
๕๐๐ ปี แทนที่จะเป็น ๑,๐๐๐ ปีตามที่ควรจะเป็น การรื้อฟื้นการบวชภิกษุณีสงฆ์
จึงเป็นการขัดพระวินัยและเป็นภัยต่อความยั่งยืนของพระศาสนาหากปัจจุบันอายุพระศาสนายืนมากว่า
๒๕๐๐ ปีแล้ว การยกพุทธพยากรณ์นี้มาคัดค้านก็ดูจะไม่สมเหตุผล อีกคำค้านของฝ่ายเถรวาทคือ
การบวชภิกษุณีต้องประกอบด้วยสงฆ์สองฝ่าย เมื่อภิกษุณีสูญหายไปจากโลกในช่วงเวลาหนึ่งแล้ว
จึงไม่สามารถมีการบวชเกิดขึ้นได้อีก
ผู้สนับสนุนการบวชได้ให้เหตุผลว่าเริ่มแรกนั้นพระพุทธองค์ให้ภิกษุสงฆ์บวชให้ภิกษุณี
ต่อมาจึงทรงให้ภิกษุณีรับการบวชโดยสงฆ์สองฝ่าย แต่ก็ไม่ได้ทรงยกเลิกบัญญัติแรก ดังนั้น
การที่ภิกษุฝ่ายเดียวจะให้การบวชหญิงเป็นภิกษุณี จึงเป็นไปได้
ดังที่ภิกษุสงฆ์สายมหายานได้กระทำ
จนสถาบันภิกษุณีสงฆ์ได้ตั้งมั่นในต่างประเทศดังกล่าว ซึ่งเหตุผลหลักของการคัดค้าน
ส่วนหนึ่งมาจากการกีดกันทางเพศ หญิงถูกวางในสถานะที่ต่ำกว่าชายมานาน
หากจะให้คลี่คลาย คงไม่ใช่เรื่องที่ง่ายดายนัก
ท่านธัมมนันทาได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอนุญาตให้ผู้หญิงบวช เพราะผู้หญิงและผู้ชายมีศักยภาพในการบรรลุธรรมเสมอกัน
พระศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่เปิดโอกาสให้สตรีมากกว่าศาสนาใดๆ ในโลก
จุดนี้จึงเป็นความงดงามของศาสนาพุทธ
ใครก็ตามที่เห็นขัดแย้งกับความคิดนี้ก็เท่ากับกำลังพยายามทำให้พุทธศาสนาด้อยคุณค่าลงไป
พระพุทธศาสนานั้นเป็นศาสนาแรกในโลกที่ประกาศความเป็นอิสระของชนชั้น สีผิว และเพศ โดยที่ไม่มีศาสนาใดสามารถจะประกาศสัจธรรมนี้ได้เด่นชัดเทียบเท่า
แต่แล้วสิ่งที่พยายามทำกันในสังคมของชาวพุทธสมัยนี้กลับมากดขี่ผู้หญิงด้วยการไม่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้ร่วมแสดงธรรม
และร่วมรับผิดชอบต่อพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นหนึ่งในพุทธบริษัท ๔ อาตมา จึงมองว่านี่เป็นการทำให้พุทธศาสนาถูกลดคุณค่าลงกว่าที่พึงจะเป็น”
ปัจจุบันมีผู้หญิงหลายคนที่โลกยอมรับในความสามารถ
แม้ในหน่วยย่อยที่สุดของสังคม หญิงยังเคียงบ่าเคียงไหล่ชายในการร่วมกันรับผิดชอบภาระของครอบครัว
ความเสมอภาคทางเพศได้รับการยอมรับมากขึ้น เมื่อสังคมโลกได้เปลี่ยนไปแล้วคงถึงเวลาที่สังคมทางศาสนาจะต้องเปลี่ยนแปลงบ้าง
พระโพธิมหาเถระได้สนับสนุนการดำรงอยู่อย่างถูกต้องของภิกษุณีไว้อย่างน่าประทับใจว่า “การรื้อฟื้นภิกษุณีสงฆ์ เป็นความดีงามจากภายในที่สอดรับกับนัยยะของพระธรรม
นำมาซึ่งการทำให้พระประสงค์ของพระพุทธองค์ในการ “เปิดประตูสู่ความเป็นอมตะ”
ให้แก่มนุษยชาติ หมายรวมผู้หญิงและผู้ชายด้วยเช่นกัน ในขณะเดียวกัน
เมื่อพิจารณาในแง่มุมของความเข้าใจในสังคมปัจจุบัน
การมีอยู่ของภิกษุณีสงฆ์เป็นเครื่องมือที่จะใช้ได้ดีอย่างยิ่งในสังคม จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามารับใช้พระศาสนาหลากหลายกว่าที่ภิกษุสงฆ์จะทำได้
ทั้งหน้าที่การสอน นักวิชาการ ผู้สอนสมาธิ นักการศึกษา ผู้แนะนำทางสังคม
ผู้นำทางพิธีกรรม และบางที งานที่เป็นเอกลักษณ์ของภิกษุณี
คือการเป็นผู้นำให้ฝ่ายสตรีด้วยกันเอง
การมีภิกษุณีสงฆ์จะปักธงชัยให้แก่พุทธศาสนาโดยการยอมรับจากผู้คนชาวโลกที่มีจิตใจอันสูงส่ง
ผู้ซึ่งถือว่าศาสนาที่ปราศจากการกีดกันทางเพศนั้นเป็นหมายสำคัญว่าศาสนานั้น
กลมกลืนกับคุณสมบัติของอารยธรรมที่มีในโลกปัจจุบัน”[๑๐]
ภิกษุณีกับบทสรุปสำหรับสังคมไทย
ทางออกสำหรับสตรีไทยผู้มีความพอใจในการอุปสมบทภิกษุณี
๑.
ถ้าสตรีไทยมีฉันทะในการอุปสมบทก็ต้องขวนขวายแสวงหาการอุปสมบทจากคณะสงฆ์อื่น
เนื่องจากคณะสงฆ์ไทยมีมติว่า“ห้ามภิกษุสามเณรบวชภิกษุณี” ซึ่งมตินี้เป็นสิทธิโดยชอบของคณะสงฆ์ไทยโดยที่ผู้ใดจะล่วงละเมิดสิทธิของคณะสงฆ์ซึ่งได้รับการสืบทอดมาโดยตรงจากพระพุทธองค์
มิได้เป็นอันขาด
๒. การที่คณะสงฆ์ลังกาให้การอุปสมบทแก่ภิกษุณีนั้นเป็นการกระทำที่ไม่ขัดต่อพระธรรม
วินัย อีกทั้งยังมิได้ล่วงละเมิดมติของพระอรหันตเถระเมื่อครั้งปฐมสังคายนาที่ว่า
“จะไม่เพิกถอนหรือเพิ่มเติมพระธรรมวินัย”
ซึ่งนี้ก็เป็นสิทธิอับชอบธรรมของคณะสงฆ์ลังกาที่ผู้อื่นก็มิอาจล่วงละเมิดได้
เช่นกัน
๓. สตรีไทยผู้มี “ฉันทะ” ในการอุปสมบท
จึงต้องขวนขวายในการขออุปสมบทเป็นภิกษุณี จากคณะสงฆ์ลังกา
ด้วยวิธี “ญัตติจตุตถกัมอุปสัมปทา”คือการอุปสมบทจากภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียว
ซึ่งสามารถนับได้ว่าเป็นภิกษุณีที่ถูกต้องสมบูรณ์ตรงตามพุทธบัญญัติทุกประการทั้งนี้สตรีไทยผู้มี “ฉันทะ” ในการอุปสมบทย่อมไม่จำเป็นต้องสืบประวัติเชื้อสาย “ภิกษุณีสงฆ์” ให้ยุ่งยากเพราะถ้าไม่ มีภิกษุณีสงฆ์และนั้นก็มิใช่สาระสำคัญอะไรเลยแม้แต่น้อย สาระสำคัญของเรื่องนี้คือ ถ้ายังมีภิกษุณี สงฆ์ตั้งมั่นอยู่จริงสตรีนั้นก็สามารถอุปสมบทด้วยวิธี “อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา” คือ อุปสมบทด้วยสงฆ์ ๒ ฝ่าย ตรงตามพุทธบัญญัติแต่ถ้าภิกษุณีสงฆ์ไม่มีอยู่หรือเสมือนว่าไม่มีอยู่ ในกรณีนี้สตรีไทยผู้มี “ฉันทะ” ในการอุปสมบทย่อมสามารถอุปสมบทด้วยวิธี “ญัตติจตุตถกัมอุปสัมปทา” โดยภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียวได้ ซึ่งก็ไม่ผิดพุทธบัญญัติเช่นกัน ดังกรณีของเหล่าศากิยนารีประมาณ ๕๐๐ นั้นเป็นตัวอย่าง
ซึ่งสามารถนับได้ว่าเป็นภิกษุณีที่ถูกต้องสมบูรณ์ตรงตามพุทธบัญญัติทุกประการทั้งนี้สตรีไทยผู้มี “ฉันทะ” ในการอุปสมบทย่อมไม่จำเป็นต้องสืบประวัติเชื้อสาย “ภิกษุณีสงฆ์” ให้ยุ่งยากเพราะถ้าไม่ มีภิกษุณีสงฆ์และนั้นก็มิใช่สาระสำคัญอะไรเลยแม้แต่น้อย สาระสำคัญของเรื่องนี้คือ ถ้ายังมีภิกษุณี สงฆ์ตั้งมั่นอยู่จริงสตรีนั้นก็สามารถอุปสมบทด้วยวิธี “อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา” คือ อุปสมบทด้วยสงฆ์ ๒ ฝ่าย ตรงตามพุทธบัญญัติแต่ถ้าภิกษุณีสงฆ์ไม่มีอยู่หรือเสมือนว่าไม่มีอยู่ ในกรณีนี้สตรีไทยผู้มี “ฉันทะ” ในการอุปสมบทย่อมสามารถอุปสมบทด้วยวิธี “ญัตติจตุตถกัมอุปสัมปทา” โดยภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียวได้ ซึ่งก็ไม่ผิดพุทธบัญญัติเช่นกัน ดังกรณีของเหล่าศากิยนารีประมาณ ๕๐๐ นั้นเป็นตัวอย่าง
๔. หากผู้ใดกล่าวว่าพุทธานุญาตที่ให้ “ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทภิกษุณี” นั้นใช้ไม่ได้ก็ต้องถามกลับคืนไปว่าพระพุทธองค์ได้ทรงเพิกถอนพุทธานุญาตนี้เมื่อใดและมีหลักฐานปรากฏอยู่ที่ใดหรือไม่และที่สำคัญก็คือชาวพุทธเถรวาทสามารถเพิกถอนพุทธานุญาตนี้ได้เองหรือไม่
๕.
เมื่อใดก็ตามที่ปรากฏว่าภิกษุณีสงฆ์สามารถตั้งมั่นได้ในประเทศไทยแล้วเมื่อนั้นครุธรรม
๘ ประการ ข้อที่ ๖
ก็ย่อมมีผลบังคับใช้กับภิกษุณีในประเทศไทยโดยอัตโนมัติ ถัดจากนี้ไปสตรีไทยผู้มี “ฉันทะ” ในการอุปสมบทก็ต้องอุปสมบทภิกษุณีด้วยวิธี
“อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา” หรือ “ทูเตนะอุปสัมปทา” อย่างใดอย่างหนึ่ง
๖.
แต่ถ้าหลังจากนั้นกลับปรากฏว่าภิกษุณีสงฆ์หมดไปจากประเทศอีกครั้ง สตรีไทยผู้มี “ฉันทะ” ในการอุปสมบทก็เพียงแต่กลับไปขออุปสมบทภิกษุณีจากคณะสงฆ์ลังกา
ด้วยวิธี “ญัตติจตุตถกัมอุปสัมปทา” จากสงฆ์เพียงฝ่ายเดียวอีกครั้งเท่านั้นเอง
มิจำเป็นจะต้องไปจับจดอยู่กับการสืบสาวเชื้อสายของภิกษุณีสงฆ์แต่อย่างใดทั้งสิ้นและทั้งหมดนี้ก็คือกระบวนวิธีในการอุปสมบทภิกษุณีที่ถูกต้องตรงตามพุทธบัญญัติและมติของพระอรหันตเถระ
เมื่อครั้งปฐมสังคายนาทุกประการ
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าชาวพุทธเถรวาททั้งหลายจะสามารถพิจารณาตามกฎเกณฑ์และหลักการที่ถูกต้องชอบธรรมด้วยสติปัญญาอย่างรอบคอบและสร้างสรรค์
ปัญหาข้อขัดข้องเล็กน้อยบางประการเกี่ยวกับภิกษุณีในประเทศไทยขณะนี้คือยังมิได้มีการ
แก้ไขข้อกฎหมายเพื่อรับรองสถานะนักบวช ซึ่งทางออกที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องนี้คือเป็นการสมควร
อย่างยิ่งที่คณะสงฆ์จะร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดดำเนินการแก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติ
คณะสงฆ์ เพื่อรับรองสถานภาพภิกษุณีที่ได้รับการอุปสมบทจากศรีลังกาเหล่านี้
ในฐานะนักบวชคณะ สงฆ์อื่น เช่น เรียกว่า “คณะสงฆ์ลังกา”
หรือเหมือนที่ใช้กับภิกษุจีนนิกายและภิกษุอนัมนิกาย เพราะ ถ้าแก้ไขข้อกฎหมายโดยเพิ่มเติมข้อความ ดังนี้
๑. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ก็จะไม่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๒.
คณะสงฆ์ไทยก็จะไม่สูญเสียจุดยืนทางพระธรรมวินัยที่จะไม่อุปสมบทภิกษุณี เพราะนี่ ไม่ได้เป็นการรับภิกษุณีเหล่านี้เข้าไว้ในคณะสงฆ์ไทยเป็นแต่ให้สังกัดอยู่ในคณะสงฆ์อื่น
ตามชื่อคณะสงฆ์ผู้ให้การอุปสมบทแก่ภิกษุเหล่านั้น
จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความเมตตาจากคณะสงฆ์ไทย
ตามสมควร[๑๑]
สรุป
ภิกษุณีเป็นคำเรียกนักบวชผู้หญิงในพระพุทธศาสนา
พระนางประชาบดีโคตรมีเถรีเป็น
พระภิกษุณีรูปแรกที่บวชโดยวิธีรับครุธรรม ๘ ประการ ต่อมาภายหลังพระพุทธองค์ทรงอนุญาตวิธีอุปสมบทภิกษุณีด้วยสงฆ์ ๒ ฝ่าย เนื่องจากในสมัยพุทธกาลไม่เคยมีศาสนาใดที่อนุญาตให้ผู้หญิงเข้ามาบวช การตั้งภิกษุณีสงฆ์ควบคู่กับพระภิกษุสงฆ์อาจเกิดข้อครหาที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อการประพฤติพรหมจรรย์และพระพุทธศาสนาได้ หากบุคคลที่เข้ามาไม่มีความมั่นคงในพระพุทธศาสนา จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่เคยปรากฏภิกษุณีสงฆ์ขึ้นในประเทศไทย ซึ่งคณะสงฆ์ได้ผ่อนผันผู้หญิงที่มีศรัทธาจะบวชเป็นภิกษุณีฝ่ายเถรวาท โดยการ “บวชชี” เนื่องจากภิกษุณีสายเถรวาทที่สืบวงศ์มาแต่สมัยพุทธกาลที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยของเถรวาทนั้นได้ขาดสูญวงศ์มานานแล้วคงมีแต่ฝ่ายมหายาน ปัจจุบันมีการพยายามรื้อฟื้นการบวชภิกษุณีฝ่ายเถรวาท โดยการบวชมาจากภิกษุณีฝ่ายมหายานและกล่าวอ้างว่าภิกษุณีฝ่ายมหายานสืบวงศ์มาจากภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเถรวาทเช่นกัน แต่คณะสงฆ์ฝ่ายเถรวาทกล่าวว่าการบวชภิกษุณีไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยของเถรวาทและมีศีลต่างกัน จึงทำให้มีการยกประเด็นปัญหาภิกษุณีเป็นข้ออ้างว่าพระพุทธศาสนากำกัดสิทธิสตรี ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
พระภิกษุณีรูปแรกที่บวชโดยวิธีรับครุธรรม ๘ ประการ ต่อมาภายหลังพระพุทธองค์ทรงอนุญาตวิธีอุปสมบทภิกษุณีด้วยสงฆ์ ๒ ฝ่าย เนื่องจากในสมัยพุทธกาลไม่เคยมีศาสนาใดที่อนุญาตให้ผู้หญิงเข้ามาบวช การตั้งภิกษุณีสงฆ์ควบคู่กับพระภิกษุสงฆ์อาจเกิดข้อครหาที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อการประพฤติพรหมจรรย์และพระพุทธศาสนาได้ หากบุคคลที่เข้ามาไม่มีความมั่นคงในพระพุทธศาสนา จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่เคยปรากฏภิกษุณีสงฆ์ขึ้นในประเทศไทย ซึ่งคณะสงฆ์ได้ผ่อนผันผู้หญิงที่มีศรัทธาจะบวชเป็นภิกษุณีฝ่ายเถรวาท โดยการ “บวชชี” เนื่องจากภิกษุณีสายเถรวาทที่สืบวงศ์มาแต่สมัยพุทธกาลที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยของเถรวาทนั้นได้ขาดสูญวงศ์มานานแล้วคงมีแต่ฝ่ายมหายาน ปัจจุบันมีการพยายามรื้อฟื้นการบวชภิกษุณีฝ่ายเถรวาท โดยการบวชมาจากภิกษุณีฝ่ายมหายานและกล่าวอ้างว่าภิกษุณีฝ่ายมหายานสืบวงศ์มาจากภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเถรวาทเช่นกัน แต่คณะสงฆ์ฝ่ายเถรวาทกล่าวว่าการบวชภิกษุณีไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยของเถรวาทและมีศีลต่างกัน จึงทำให้มีการยกประเด็นปัญหาภิกษุณีเป็นข้ออ้างว่าพระพุทธศาสนากำกัดสิทธิสตรี ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาตให้มีภิกษุณี
เพราะเห็นว่าจะทำให้อายุของพระพุทธศาสนาไม่ยั่งยืน
ต่อมาพระนางปชาบดีโคตรมีมีศรัทธาอยากบวช พระอานนท์ทูลขอให้พระพุทธองค์อนุญาต
โดยที่มีเงื่อนไงว่าพระนางมหาปชาบดีโคตรมีจะต้องรับครุธรรม ๘
ประการหรือบวชโดยวิธีรับครุธรรม ๘ ประการ
และทรงอนุญาตให้ผู้หญิงที่มีศรัทธาจะบวชเป็นภิกษุณีจะต้องบวชเป็นสามเณรีถือศีล ๖
ข้อ เป็นเวลา ๒ ปี แล้วบวชเป็นภิกษุณี
โดยการอุปสมบทในฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ก่อนแล้วเข้าพิธีอุปสมบทในฝ่ายภิกษุสงฆ์ เมื่อพระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ประเทศศรีลังกา
พระเจ้าอโศกมหาราชทรงนิมนต์พระนางสังฆมิตตาเถรีเป็นพระอุปัชฌาย์ไปบวชพระนางอนุลา
ต่อมาก็มีการบวชภิกษุณีในประเทศจีน ใต้หวัน และหลายประเทศ
จนกระทั่งพระพุทธศาสนาที่อินเดียและศรีลังกาเสื่อมลง จึงทำให้ภิกษุณีฝ่ายเถรวาทขาดผู้สืบทอดการบวช การที่มีผู้หญิงจำนวนหนึ่งมีศรัทธาต้องการบวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
และมีพระสงฆ์ชาวลังกาบางรูปบางวัดหรือบางสำนักอนุญาตให้มีการอุปสมบทภิกษุณีขึ้นในวัดของตน
จึงทำให้มีผู้หญิงบางคนได้เข้าอุปสมบทเป็นภิกษุณีดังกล่าว จึงได้มีการเรียกร้องให้คณะสงฆ์ไทยยอมรับการอุปสมบทภิกษุณีขึ้นมาในประเทศไทย
คณะสงฆ์ไทยฝ่ายเถรวาทไม่อนุญาตให้ผู้หญิงบวชเป็นภิกษุณีนั้น
เพราะเงือนไขของพระพุทธศาสนาเถรวาทที่วางไว้มาแต่เดิม
จึงไม่ใช่เป็นเรื่องความเห็นแก่ตัวหรืออคติ ดังนี้
๑.
พระพุทธศาสนาฝายเถรวาทถือมติการสังคายนาครั้งที่ ๑ เป็นหลัก
โดยที่จะไม่เพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยคือจะรักษาพระธรรมวินัยตามเดิมทุกอย่าง จึงไม่สามารถอุปสมบทให้แก่สตรีได้ เพราะภิกษุณีสงฆ์ที่จะให้การอุปสมบาทไม่มี
ถ้านำเอาภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายมหายานที่มีสายมาจากภิกษุณีฝ่ายเถรวาทแทนย่อมไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยของเถรวาท
ซึ่งภิกษุณีสงฆ์ที่บวชด้วยภิกษุณีสงฆ์ของมหายานมีข้อปฏิบัติต่างจากเถรวาท
การทำสังฆกรรมกับสงฆ์ที่มีสังวาสต่างกันเป็นสังฆกรรมที่ใช้ไม่ได้
ผู้อุปสมบทจึงไม่เป็นภิกษุณีตามข้อกำหนดของฝ่ายเถรวาท
๒.
การอุปสมบทเป็นภิกษุณีในสำนักของพระสงฆ์ลังกาที่ผสมผสานระหว่างฝ่ายมหายานกับเถรวาท
ถ้าผู้อุปสมบทต้องการเป็นภิกษุณีนิกายเถรวาทใหม่หรือลังกาใหม่จึงไม่มีปัญหา
แต่ถ้าต้องการเป็นภิกษุณีในนิกายเถรวาทจะมีปัญหา
๓. การจะแก้พระธรรมวินัย
ภิกษุผู้แก้พระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนาให้วิปริตคลาดเคลื่อนเป็นบาปร้ายแรงแล้วใครจะเป็นคนบาปคนนั้น
ตามหลักการของพระพุทธศาสนาเถรวาท
คณะสงฆ์ไม่มีสิทธิ์ปรับแก้พระวินัยแต่ต้องทำตามเท่านั้น
เพื่อรักษาเอกลักษณ์ของเถรวาท
มหาเถรสมาคมประกาศเมื่อวันที่ ๑๑
ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ด้วยเหตุผลว่าห้ามพระสงฆ์ไทยให้การบรรพชาและอุปสมบทแก่สตรีเป็นสามเณรีและภิกษุณีมีเหตุผล
ดังนี้
๑. ภิกษุสงฆ์ไทยไม่สามารถอุปสมบทแก่สตรีที่ไม่ได้รับการอุปสมบทจากภิกษุณีสงฆ์ก่อน
๒. ภิกษุณีต้องเคารพในพระธรรมวินัย
ครุธรรม ๘ ประการ ภิกษุสงฆ์จะบวชให้ใครต้องเป็นไปตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด
๓.
ภิกษุสงฆ์เคารพในพระธรรมวินัยเป็นศาสดา
๔. ยึดหลักแห่งความเสื่อมและความเจริญของหมู่คณะ
โดยการไม่บัญญัติสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้นและไม่รื้อถอนสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้แล้ว
๕. ภิกษุสงฆ์ไทยเคารพในพระศาสดา
แต่ไม่เคารพในหลักสิทธิมนุษยชนหรือหลักสิทธิเสรีภาพ
๖.
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศไทยไม่เคยมีภิกษุณีสายเถรวามเข้าสู่ประเทศไทย
๗.
การบวชภิกษุณีบางส่วนไปบวชมาจากต่างประเทศและประเทศไทยบ้าง
ซึ่งสามารถทำได้ตามหลักสิทธิเสรีภาพและรัฐธรรมนูญ
แต่ไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยของฝ่ายเถรวาท คณะสงฆ์ไทยจึงรับไม่ได้
การเกิดขึ้นของภิกษุณีสงฆ์ในประเทศไทย ซึ่งเกิดขึ้นจากศรัทธาของประชาชน ในขณะเดียวกันคณะสงฆ์ไทยก็อ่อนแอลงมากและเสื่อมศรัทธาจากประชาชนไปมาก
จนไม่สามารถจะจัดการหรือแก้ปัญหาภิกษุณีในประเทศไทยได้ รัฐบาลก็ไม่มายุ่งเกี่ยวกับเรื่อศาสนาและพระสงฆ์
ถ้าไม่กระทบความมั่นคงของรัฐ รัฐบาลจึงให้คณะสงฆ์จัดการและแก้ปัญหาเอง
การเกิดขึ้นของภิกษุณีสงฆ์ในประเทศไทย ซึ่งได้รับความสนใจ
ความศรัทธาของผู้หญิงที่จะบวชเป็นภิกษุณีและได้รับการสนับสนุนของผู้คนในสังคมที่อยากเห็นภิกษุณีเกิดขึ้น
แม้ว่าคณะสงฆ์ไทยและรัฐบาลจะไม่ยอมรับว่ามีสามเณรีหรือพระภิกษุณี แต่ประชาชนให้ความสนใจและความเคารพนับถือ
สามเณรีและภิกษุณีได้เกิดขึ้นในความรู้สึกนึกคิดของประชาชน พระธรรมวินัยและการยอมรับของประชาชน คนไทยอยากเห็นภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นในประเทศไทย
เพราะว่าภิกษุณีสงฆ์เป็นความจำเป็นในการเผยแผ่พระธรรมและส่งเสริมการปฏิบัติธรรมในหมู่ของผู้หญิง
ซึ่งปัจจุบันผู้หญิงเป็นจำนวนมากหันมาปฏิบัติกับผู้หญิงด้วยกัน
จึงมีสำนักปฏิบัติธรรมของผู้หญิงเป็นเจ้าของและเป็นอาจารย์สอนธรรม
อันเป็นการส่งเสริมผู้หญิงมีโอกาสได้รับการฝึกฝนตนเองอย่างเต็มที่
เพื่อความเจริญงอกงามและเป็นกำลังที่สำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอีกด้วย ประเด็นปัญหาว่า
“ประเทศไทยควรจะมีภิกษุณีสงฆ์หรือไม่”
โดยการคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่พระพุทธศาสนาและสังคมไทย ดังนี้
๑. การบวชภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเถรวาทไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย
เพราะเหตุว่าการบวชนั้นจะต้องมีสงฆ์ ๒ ฝ่ายรับรอง
๒.
เมื่อสังคมไทยเห็นว่า ควรมีภิกษุณีสงฆ์ในประเทศไทยค่อยมาพิจารณาถึงพระธรรมวินัยว่า
เอื้ออำนวยหรือไม่ที่เปิดช่องให้มีการบวชภิกษุณีในปัจจุบันได้
ถ้าไม่ได้ก็ต้องคิดค้นหารูปแบบใหม่สำหรับภิกษุณีหรือผู้หญิงในชื่อใหม่ โดยที่ปฏิบัติตามวินัยปาฏิโมกข์ของภิกษุณี
๓. ปัจจุบันมีผู้หญิงไทยบางคนบวชเป็นภิกษุณีแล้วจำนวนมาก
แต่ยังไม่ครบองค์สงฆ์ ความรู้ ความสามารถ และการอุทิศตน เพื่อพระพุทธศาสนาของสามเณรีและภิกษุณีสงฆ์ไทยในปัจจุบันและอนาคต ถ้าคนไทยยอมรับและสนับสนุน รัฐบาลและคณะสงฆ์ก็ขัดขวางไม่ได้ ปัญหามีอยู่ว่า
“ใครจะเข้ามาดูแลและแก้ปัญหาหาทางออก”
การอุปสมบทเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว ปัญหาและทางออกของภิกษุณีสงฆ์ในประเทศไทย
ดังนี้
๑. ถ้าผู้หญิงไทยมีศรัทธาในการอุปสมบทจะต้องแสวงหาการอุปสมบทจากคณะสงฆ์อื่น
ที่ไม่ใช่พระสงฆ์ไทย เพราะคณะสงฆ์ไทยห้ามภิกษุ
สามเณรบวชภิกษุณี
๒. เมื่ออุปสมบทแล้วตั้งพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทใหม่หรือลังกาใหม่ที่ไม่ปัญหาเกี่ยวกับการอุปสมบทภิกษุณี
๓. การที่ภิกษุณีสงฆ์ได้บวชในคณะสงฆ์ลังกา
จึงไม่ขัดต่อพระธรรมวินัยอันเป็นสิทธิชอบธรรมของคณะสงฆ์ลังกา
๔.
ผู้หญิงมีศรัทธาในการอุปสมบทเป็นภิกษุณีจากคณะสงฆ์ลังกา
โดยวิธีญัตติจถุตถกัมอุปสัมปทา” สามารถทำได้ถ้าผู้หญิงมีศรัทธาจะบวช
๕.
การสร้างผลงานของภิกษุณีให้สังคมยอมรับ
เพื่อเปลี่ยนเจตคติและค่านิยมต่อหลักการหรือเอกลักษณ์ของพระพุทธศาสนาเถรวาทผ่านทางสังคมและการเมือง
เช่น จีน และญี่ปุ่น เป็นต้น
๖.
การสร้างและส่งเสริมนักบวชสตรีในรูปแบบอื่น เช่น
สร้างภิกษุณีในรูปแบบของพรหมจาริณีหรือทศศีลมาตาหรือส่งเสริมสถานภาพของแม่ชีไทยให้ได้รับการยอมรับยิ่งขึ้น
ปัญหาข้อขัดข้องบางประการเกี่ยวกับภิกษุณีในประเทศไทยคือการแก้ไขข้อกฎหมาย
เพื่อรับรองสถานนักบวชที่จะเป็นทางออกที่ดี
คณะสงฆ์จะต้องร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขกฎหมายหรือพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
เพื่อรองรับสถานภาพภิกษุณีที่อุปสมบทจากลังกา “คณะสงฆ์ลังกา”
โดยที่การแก้ไขกฎหมายดังกล่าว คือ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ก็จะไม่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและคณะสงฆ์ฝ่ายเถรวาทไม่สูญเสียจุดยืนทางพระธรรมวินัยภิกษุไม่อุปสมบทภิกษุณี
เมื่อภิกษุณีไม่ได้เป็นภิกษุณีในคณะสงฆ์ไทย แต่สังกัดคณะสงฆ์อื่น
https://th.wikipedia.org/wiki
[๔]ณัฐรดา สุขสุธรรมวงศ์ “ปัญหาการบวชภิกษุณีในพุทธศาสนาเถรวาท”
วันที่สืบค้นข้อมูล
๔ สิงหาคม ๒๕๖๐ เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org
[๕]สามารถ มังสัง, พลวัตสังคม,
“เหตุใดเมืองไทยจึงบวชนางภิกษุณีไม่ได้” วันที่สืบค้นข้อมูล
๔ สิงหาคม ๒๕๖๐ เข้าถึงได้จาก
:http://www.manager.co.th/daily/viewnews.asp
[๗] พระเทพวิสุทธิกวี, ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย,
“ข้อสงสัยเรื่องภิกษุณี” วันที่สืบค้นข้อมูล
๔ สิงหาคม ๒๕๖๐ เข้าถึงได้จาก :
http://www.bpct.org/index.php
|
[๘] ชำนาญ จันทร์เรือง, ประชาไทย,
“ห้ามบวชภิกษุณี” วันที่สืบค้นข้อมูล ๔ สิงหาคม ๒๕๖๐
เข้าถึงได้จาก
: https://prachatai.com/journal